เราใช้คุกกี้เพื่อทำให้ประสบการณ์ของคุณดีขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งใหม่ของ e-Privacy เราจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณในการตั้งค่าคุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติม
ประเด็นแรก
ขนาดประตูต้องมีขนาดเท่าไหร่ ถ้าจะพูดถึงกฎหมายจะพบว่ามีการพูดถึงขนาดของประตูหนีไฟอยู่หลายฉบับด้วยกัน ในแต่ละฉบับก็จะระบุขนาดที่แตกต่างกันไป เช่น กฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 47 (2540) ระบุว่าต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 cm. สูงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร ส่วนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 33 (2535) ระบุว่าต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 90 cm. สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร ยังไม่หมดแค่นี้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการฯ ระบุให้ช่องทางผ่านสู่ประตูทางออกสุดท้ายภายนอกอาคารต้องมีความกว้างอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 110 cm. และสำหรับมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) กำหนดให้ประตูที่อยู่ในเส้นทางหนีไฟต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 cm. แล้วคราวนี้เราจะใช้เท่าไหร่กันดีละ ก็ต้องบอกกันก่อนนะครับว่าแล้วแต่ความเหมาะสมจริงๆ ไม่ใช่ว่ากฎหมายเขียนมาเท่านี้ก็ต้องทำเท่านี้ เพราะการกำหนดขนาดของประตูหนีไฟแล้วตัวเลขที่กล่าวมาข้างต้นผมเรียกว่าตัวเลขขั้นต่ำที่กำหนดไว้จะเหมาะสมกว่าเพราะถ้าจะพิจารณาถึงขนาดของประตูหนีไฟให้ถี่ถ้วนแล้วคงต้องพิจารณาจากองค์ประกอบในด้านอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยไม่ว่าจะเป็นจำนวนเส้นทางหนีไฟทั้งหมดในพื้นที่ รวมถึงจำนวนคนที่เราต้องการจะอพยพออกจากพื้นที่อาคารด้วยว่ามีจำนวนคนเท่าไหร่ สำหรับในรายละเอียดทั้งหมดแล้วผมแนะนำให้หาอ่านจากมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ของวสท. เพราะจะได้รายละเอียดที่ครบถ้วน แต่ว่าถ้าอาคารของเราไม่พิเศษมากกันเกินไป คือเป็นอาคารที่ไม่ใช่อาคารชุมนุมคน อาคารโรงงานที่มีความเสี่ยงสูง หรืออาคารสถานพยาบาล ประตูขนาดกว้าง 90 cm. สูง 2.00 เมตร ก็สามารถอพยพคนออกจากพื้นที่ได้ประมาณ 180 คน (อ้างอิงตามหัวข้อ 3.2.2 ในมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย) ก็น่าจะเหมาะครับสำหรับการพิจารณาในเบื้องต้น ซึ่งก็เป็นขนาดมาตรฐานที่มีขายกันตามท้องตลาด
ประเด็นที่สอง
ส่วนประกอบของประตูหนีไฟ ลักษณะของประตูทนไฟที่เหมาะสมมีข้อพิจารณาต่างๆ ดังนี้ ทำจากเหล็ก ไม้ หรือวัสดุอื่นๆซึ่งมีแกนประตูเป็นฉนวนหรือวัสดุที่ช่วยให้มีอัตราการทนไฟตามต้องการ และผ่านการทดสอบตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ ต้องติดตั้งอุปกรณ์ดึงปิดประตูได้เอง (Self-Closing Device) ส่วนประกอบประตู รวมถึง วงกบ บานพับ อุปกรณ์ล็อคและอุปกรณ์ดึงปิดประตู ต้องเป็นวัสดุไม่ติดไฟและไม่ทำให้อัตราการทนไฟของประตูทนไฟลดลง กรณีไม่มีธรณีประตูจะต้องมีช่องว่างระหว่างขอบประตูกับพื้นไม่มากกว่า 5 มิลลิเมตร และหากเป็นประตูที่ใช้เพื่อการป้องกันควันช่องว่างระหว่างขอบประตูกับวงกบต้องติดตั้งแถบกันควัน (Smoke Strip) ต้องมีช่องว่างระหว่างประตูกับวงกบไม่มากกว่า 3 มิลลิเมตร สำหรับบันไดที่มีการอัดอากาศซึ่งต้องติดตั้งธรณีประตู ธรณีประตูต้องมีความสูงไม่เกิน 13 มิลลิเมตร และทั้งสองด้านต้องมีขอบที่มีความลาดเอียงอย่างน้อย 1:2 ยกเว้นธรณีประตูสูงน้อยกว่า 6 มิลลิเมตร ช่องมองผ่านประตู ให้ทำด้วยกระจกที่สามารถทนไฟได้ แต่ต้องมีขนาดพื้นที่ไม่เกิน 600 ตารางเซ็นติเมตรและไม่มีด้านหนึ่งด้านใดยาวเกินกว่า 40 เซ็นติเมตร ประตูต้องผลักไปในทิศทางการหนีไฟ และเปิดกว้างได้ไม่น้อยกว่า 90 องศาและไม่กีดขวางเส้นทางอพยพ โดยความกว้างของบาร์ผลัก(Panic Hardware)ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความกว้างของบานประตู และให้ติดตั้งที่ระดับไม่ต่ำกว่า 80-120 เซ็นติเมตร วัดจากระดับพื้น กรณีต้องการให้ประตูเปิดค้างต้องใช้อุปกรณ์ช่วยดึงประตูเปิดและปิดกลับโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ประตูหนีไฟของอาคารสูงต้องสามารถเปิดย้อนกลับไปในทิศทางเดิมได้ (Re-Entry) อย่างน้อยทุกๆ 5 ชั้น
ประเด็นที่สาม
อัตราการทนไฟของประตู ให้พิจารณาเกณฑ์ในเบื้องต้น ดังนี้ ประตูต้องมีคุณสมบัติทนไฟโดยไม่มีการสูญเสียรูปทรงและไม่ส่งความร้อนสูงเกินไป ซึ่งปกติจะพบว่าภายในประตูจะบุฉนวนทนไฟทั่วทั้งบาน โดยฉนวนที่นิยมใช้ได้แก่ Rockwool (ฉนวนใยหิน) ซึ่งจะสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 1,000 องศาเซลเซียส ประตูทนไฟต้องมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่าอัตราการทนไฟของผนังที่ประตูทนไฟนั้นติดตั้ง ยกเว้นว่าจะกำหนดให้เป็นอย่างอื่น (สำหรับบางจุดที่ระบุไว้ในมาตรฐาน วสท.) อัตราการทนไฟของประตูหนีไฟ กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ยกเว้นว่าจะกำหนดให้เป็นอย่างอื่น (สำหรับบางจุดที่ระบุไว้ในมาตรฐาน วสท.) แต่ถ้าให้ดีก็เลือกใช้ประตูทนไฟ ซันเม็ททัล ที่อัตราการทนไฟ 4 ชั่วโมง รับรองว่าครอบคลุมแน่นอน และที่สำคัญที่สุดสำหรับการเลือกประตูหนีไฟนะครับ คือต้องขอใบรับรองจากผู้ขายว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการทดสอบจากหน่วยงานหรือสถาบันที่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้
Login and Registration Form