เมนู Toggle

POPULAR

7 ทริกดูแลและใช้เครื่องฟอกอากาศอย่างไร? ให้พิฆาตเชื้อโรคเต็มประสิทธิภาพ

7 ทริกดูแลและใช้เครื่องฟอกอากาศอย่างไร? ให้พิฆาตเชื้อโรคเต็มประสิทธิภาพ

          ถ้าอยากสูดอากาศสะอาดบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มที่หลังจากมีเครื่องฟอกอากาศมาตั้งไว้ประจำห้องแล้ว ก็ต้องดูแลรักษาและใช้งานอย่างถูกวิธี เพื่อให้ผู้ช่วยดักจับฝุ่นของเราทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย

          เพราะลำพัง แค่การนำเครื่องฟอกอากาศ มาตั้งและเปิดใช้งานไปเรื่อยๆ นั้น ก็อาจไม่ได้ช่วยให้อากาศภายในห้องสะอาดขึ้นได้ อย่างเต็มที่ แต่ก็อย่าลืมที่จะใส่ใจ ดูแลเรื่องความสะอาด ของแผ่นกรอง หรือ พื้นที่การใช้งาน รวมไปถึงปัจจัยต่างๆ ที่จะส่งผลให้เครื่องฟอกอากาศนั้น สามารถใช้งานไปได้อีกนานๆ ด้วย ซึ่งแต่ละข้อที่ JARTON นำในวันนี้ ก็เป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้เครื่องฟอกอากาศนั้น สามารถทำงานได้ดีขึ้นได้ โดยไม่ยากเย็นเลย

 

  1. เปลี่ยนแผ่นกรองเมื่อถึงเวลา

            ส่วนที่สำคัญและเป็นเหมือนหัวใจของเครื่องฟอกอากาศก็คือแผ่นกรองด้านในหรือแผ่นกรอง HEPA นั่นเอง แผ่นกรองชั้นนี้จะเป็นเส้นใยที่มีความละเอียด สามารถดักจับฝุ่นขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 และแบคทีเรียได้ โดยจะมีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือนไปจนถึง 1 ปี ขึ้นอยู่กับว่ามีการเปิดใช้งานมาน้อยหรืออยู่ในพื้นมีมลพิษหนาแน่นแค่ไหน โดยพื้นฐานเมื่อแผ่นกรองเริ่มเสื่อมคุณภาพก็จะมีโหมดการแจ้งเตือนจากเครื่องฟอกอากาศ เมื่อถึงเวลาจะต้องหาแผ่นกรองชิ้นใหม่มาสับเปลี่ยนเข้าไป ไม่สามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดเองได้

 

  1. ดูแลแผ่นกรองคาร์บอน

            สำหรับเครื่องฟอกอากาศบางตัวที่มีฟังก์ชันการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์นั้นก็จะมีแผ่นกรองคาร์บอน (Carbon filter) เพิ่มมาอีกชั้น ซึ่งจะมีลักษณะเป็นแผ่นสีดำๆ เนื่องจากมีส่วนผสมของถ่านนั่นเองค่ะ แผ่นกรองชั้นนี้จะมีหน้าที่ช่วยดูดซับทั้งกลิ่นอับ กลิ่นอาหาร ควันบุหรี่ ฯลฯ เมื่อใช้งานไปได้สักประมาณ 3 เดือนก็จะถึงเวลาที่ควรนำออกมาเคาะหรือปัดฝุ่นออก ส่วนอายุการใช้งานแผ่นกรองชั้นนี้จะอยู่ที่ประมาณ 1 ปี ก็ควรเปลี่ยนใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการการกำจัดกลิ่นได้ดีขึ้น

  1. ทำความสะอาดตาข่ายด้านนอกอย่างสม่ำเสมอ

            ภายนอกเครื่องฟอกอากาศจะมีแผ่นตาข่าย หรือ ฟองน้ำสำหรับดักจับฝุ่นขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นด่านแรกในการเปลี่ยนอากาศที่เข้ามาให้สะอาดบริสุทธิ์ นั่นหมายความว่าตรงจุดนี้ก็เป็นอีกส่วนสำคัญไม่แพ้กัน การทำความสะอาดแผ่นตาข่ายชั้นนอกนั้น ไม่มีระยะเวลาที่ตายตัว แค่ต้องคอยใส่ใจและสังเกตว่ามีฝุ่นจับตรงส่วนนี้มากน้อยแค่ไหน ถ้าหากเริ่มมีฝุ่นจับตัวหนาจนเห็นได้ชัดก็ควรถอดไปล้างทำความสะอาดได้โดยอาศัยแปรงปัดฝุ่น หรือ ล้างด้วยน้ำสะอาดตามปกติ จากนั้นจึงเช็ด หรือ ตากให้แห้งก่อนนำไปประกอบกลับตามเดิม

 

  1. อย่าลืมทำความสะอาดภายนอกเครื่อง

            การทำความสะอาดตัวเครื่องด้านนอกก็สำคัญไม่แพ้การทำความสะอาดแผ่นกรองแต่ละชั้นเหมือนกันค่ะ สำหรับชิ้นส่วนเครื่องที่เป็นพลาสติกนั้น แค่ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดมาเช็ดคราบหรือใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์เช็ดมาเช็ดก็เพียงพอค่ะ แต่ส่วนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษนั้นก็คือบริเวณช่องที่ปล่อยอากาศให้ผ่านออกมา ตรงจุดนี้จะมีลักษณะเหมือนแผ่นตะแกรงที่ซ้อนทับกันไป ทำให้ฝุ่นสามารถเข้าไปเกาะและสะสมได้ ยิ่งถ้าหากไม่ได้ใช้งานหรือทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ฝุ่นที่กองรวมกันอยู่จุดนี้ก็จะฟุ้งกระจายเมื่อเปิดใช้งาน แทนที่จะได้อากาศที่สะอาดสดชื่นก็กลับต้องสูดดมฝุ่นจากตรงนี้เข้าไปแท

 

  1. ใช้งานเครื่องฟอกอากาศในพื้นที่ปิด

            การเปิดห้องให้โล่ง เป็นระยะเพื่อระบายอากาศนั้น เป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่ใช่กับช่วงเวลาที่เปิดใช้งานเครื่องฟอกอากาศแน่นอนค่ะ เพราะเครื่องฟอกอากาศนั้น จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่ออยู่ภายในห้องปิดที่มีอากาศเข้าออกไม่มาก ตัวเครื่องจะสามารถดึงอากาศภายในห้องมาทำให้สะอาด และปล่อยออกไปหมุนเวียนภายในห้องได้ ถ้าหากใช้ในพื้นที่เปิดก็จะยิ่งมีการใช้กำลังในการดึงอากาศเข้ามามาก ฟิลเตอร์ก็จะยิ่งทำงานหนักเพราะอากาศที่ปนเปื้อนจากภายนอกจะเข้ามาเรื่อยๆ ไม่ขาด ซึ่งนั่นเป็นจุดที่เกินกำลังของเครื่องฟอกอากา

 

6 . จัดเครื่องฟอกอากาศและเครื่องปรับอากาศให้อยู่คนละมุม

            เครื่องฟอกอากาศและเครื่องปรับอากาศ จะใช้หลักการดึงอากาศรอบ ๆ เข้าไปเหมือนกัน ถ้าหากตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้ง 2 ประเภทนี้ใกล้กันมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดการแย่งอากาศกันแทนที่จะช่วยกันกรองหรือกระจายอากาศออกไป และโดยส่วนมากเครื่องปรับอากาศจะมีแรงดูดมากกว่า ถ้านำเครื่องฟอกอากาศไปตั้งไว้ใกล้ ๆ ก็คงมีกำลังไม่พอที่จะดึงอากาศภายในห้องเข้าไปทำความสะอาดแน่นอนค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าอยากให้เครื่องฟอกอากาศทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถดึงอากาศรอบๆ เข้ามาทำความสะอาดได้อย่างเต็มที่ก็ควรจัดวางให้อยู่คนละมุมกับเครื่องปรับอากาศจะดีที่สุด

 

  1. เลือกเครื่องฟอกอากาศให้พอดีกับขนาดห้อง

            อีกปัจจัยที่จะช่วยให้เครื่องฟอกอากาศ ไม่ทำงานหนักจนเกินไป ก็คือการใช้เครื่องฟอกอากาศให้เหมาะสมกับพื้นที่ หรือ ขนาดของแต่ละห้อง เพราะเครื่องฟอกอากาศแต่ละตัวนั้น จะถูกออกแบบมาให้มีกำลังที่ต่างกัน จึงเหมาะกับพื้นที่ที่ต่างกันออกไป ควรวางแผนหรือ ต้องรู้ก่อนเสมอว่าเครื่องฟอกอากาศที่ใช้งาน เหมาะกับห้องไม่เกินกี่ตารางเมตร และควรเลือกเครื่องฟอกอากาศให้มีกำลังที่มากกว่าขนาดของห้องเล็กน้อย เพราะถ้าหากนำเครื่องฟอกไปไว้ในห้องที่กว้างเกินกว่าเครื่องจะรับไหว ก็จะทำให้เครื่องทำงานหนักเกินไปจนอาจเสื่อมสภาพเร็ว แถมอากาศที่ได้ก็ยังไม่สะอาดบริสุทธิ์อย่างเต็มที่ด้วย

 

 

สนใจ เครื่องฆ่าเชื้อในอากาศ JARTON และเครื่องฟอกอากาศ JARTON อากาศสะอาด ปราศจากเชื้อโรค คุ้มค่าทุกการใช้งานคลิก

ก่อน “เต้าเสียบและเต้ารับ” โดนตรวจสอบอย่างไรบ้าง เพื่อให้ได้มาตรฐาน สมอ.
ต่อไป เทคนิคเลือกฝักบัวอย่างไร ให้โดนใจคนในบ้าน