แก้ไขอย่างไร? เมื่อ “แอร์” มีน้ำหยด
น้ำหยดที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่คอยล์เย็น หรืออีวาโปเรเตอร์ภายในห้องปรับอากาศซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของการมีน้ำหยดเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุขึ้น เช่น
- ถาดพักน้ำทิ้งที่อยู่ใต้อีวาโปเรเตอร์หรือท่อน้ำทิ้งเชื่อมต่อถาดเกิดการอุดตัน หลุดหรือแตกทำให้น้ำถาดล้นออกมาข้างตัวเครื่องกลายเป็นน้ำหยดเพราะไม่สามารถไหลระบายลงไปตามท่อน้ำทิ้งได้
- แผงคีบด้านหลังของอีวาโปเรเตอร์เกิดการอุดตันทำให้มีน้ำเกาะโดยรอบเครื่องปรับอากาศ
- บริเวณที่ทางเดินสารทำความเย็นมีการห่อหุ้มด้วยฉนวนไม่มิดชิดพอซึ่งขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นเรื่องผิดพลาดของช่างผู้ติดตั้งเดินท่อน้ำยาตั้งแต่แรก ส่งผลให้เกิดน้ำเกาะหยดโดยเกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำที่บริเวณท่อสารทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
- เครื่องปรับอากาศถูกติดตั้งใกล้กับอุปกรณ์ทำความร้อนหรืออุปกรณ์ก่อสร้างลม เช่น เตาอบ พัดลม เป็นต้น ส่งผลให้ทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศเปลี่ยนแปลงสถานะกลายเป็นหยดน้ำเกาะโดยรอบเครื่องปรับอากาศ
สำหรับการแก้ปัญหาของเครื่องปรับอากาศที่มีน้ำหยดนี้ สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยการปรับเปลี่ยนให้เข้าที่หรือทำความสะอาดในจุดที่เกิดการอุดตัน ซึ่งอาจจะมีวิธีการแก้ไขดังนี้
- ในกรณีที่เกิดการอุดตันที่ท่อน้ำทิ้ง เช่น บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างถาดพักน้ำทิ้งและท่อเดินน้ำทิ้ง สามารถแก้ไขโดยใช้โบลเวอร์หรือเครื่องเป่าลมกำลังสูง เป่าอัดไล่เศษสิ่งสกปรกหรือฝุ่นละอองตะไคร่น้ำที่อุดตันออกจากท่อหรือจุดเชื่อมต่อ เพื่อให้น้ำทิ้งสามารถระบายออกได้อย่างสะดวกหรืออาจมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น จุดเชื่อมต่อท่อน้ำทิ้งหลุดหรือแตก ในกรณีนี้เพียงแค่ใส่กลับเข้าที่ หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ท่อที่มีความเสียให้ใหม่ ปัญหาน้ำหยดก็จะไม่เกิดขึ้นอีก
- ในกรณีที่คีบหน้าด้านหลังอีวาโปเรเตอร์เกิดการอุดตัน อาจเกิดจากเศษสิ่งสกปรกที่ไปเกาะอยู่ ทำให้ละอองน้ำที่กลั่นตัว ไม่สามารถไหลลงสู่ถาดพักน้ำทิ้งได้ หากมีการใช้งานเครื่องปรับอากาศไปเรื่อยๆ จุดที่มีเศษสิ่งสกปรกอุดตันจะกลายเป็นน้ำแข็งและเมื่อคอมเพรสเซอร์ตัดการทำงานในขณะที่ความเย็นถึงจุดน้ำแข็งนั้นจะละลายและกลายเป็นหยดน้ำซึ่งอาจไม่ไหลตกลงถาดน้ำทิ้งในกรณีนี้จะต้องมีการล้างทำความสะอาดในจุดของคอยล์เย็นหรืออีวาโปเรเตอร์ทั้งหมด โดยต้องถอดฉีดใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดล้างทำความสะอาดไม่มีเศษสิ่งสกปรกติดตามคีบให้เกิดการอุดตัน นั้นปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง หรือใช้โบลเวอร์เป่าให้แห้งและต่อประกอบเข้าที่ปัญหาน้ำแข็งเกาะหรือหยดน้ำจะหายไป
- ในกรณีที่มีการตั้งค่าความเย็นต่ำจนเกินไป เช่น 18 - 20 องศาเซลเซียส อาจจะทำให้คอยล์เย็นจุดใดจุดหนึ่งมีน้ำแข็งเกาะเนื่องจากดูดซับความร้อนมากเกินไป เมื่อระบบการทำงานสามารถสร้างความเย็นได้ถึงจุดแล้ว เทอร์โมสตัทจะสั่งตัดการทำงานของความเพรสเซอร์ น้ำแข็งที่เกาะอยู่จะละลายและหยดเป็นน้ำได้ การตั้งอุณหภูมิที่ถูกต้อง ถ้าอุณหภูมิห้องอยู่ที่ 30 - 37 องศาเซลเซียส ให้ตั้ง 22 - 25 องศาเซลเซียสจะเหมาะสมที่สุด
- การที่มีสารทำความเย็นไหลเวียนเปลี่ยนสถานะในระบบทำความเย็นน้อยเกินไป ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำแข็งเกาะที่คอยล์เย็นดังนั้นควรตรวจระดับสารทำความเย็น (ระบบน้ำยา) ให้ได้ตามมาตรฐานตามปริมาณที่กำหนด
สนใจเครื่องปรับอากาศ JARTON * UNI-Aire สินค้าคุณภาพเปี่ยมมาตรฐาน มั่นใจคุ้มค่าทุกการใช้งานคลิก
https://www.jarton.co.th/all-product/smart-property-solutions/home-automation-system/jarton-home/hvac-electrical-category.html
Login and Registration Form