เมนู Toggle

POPULAR

ชวนรู้จัก “มาตรฐาน ISO” สำคัญในไทย มีอะไรบ้าง? ไปดูกัน

ชวนรู้จัก “มาตรฐาน ISO” สำคัญในไทย มีอะไรบ้าง? ไปดูกัน

          สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้รับเอาระบบคุณภาพอนุกรมมาตรฐานสากล ISO มาใช้ใน การปรับปรุงพัฒนาคุณภาพในการบริหารองค์กรโดยมาตรฐาน ISO ที่สำคัญได้แก่

  1. มาตรฐาน ISO 9000 มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ

          โครงสร้างของอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

 

กลุ่มมาตรฐานข้อกำหนด ใช้เพื่อขอรับการรับรอง

          ISO 9001 มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ใช้สำหรับองค์กรที่มีความรับผิดชอบ ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต การติดตั้ง และการบริการ

          ISO 9002 มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ใช้สำหรับองค์กรที่มีความรับผิดชอบ ตั้งแต่การผลิต การติดตั้ง และการบริการ

          ISO 9003 มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ใช้สำหรับองค์กร ที่มีความรับผิดชอบเฉพาะการตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย

 

กลุ่มมาตรฐานข้อแนะนำ ใช้เพื่อสนับสนุนการนำมาตรฐานไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          ISO 9000 แนวทางการเลือกและการใช้มาตรฐานในอนุกรม ISO 9000

          ISO 9004 เป็นข้อแนะนำในการจัดระบบการบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้องค์กรผู้ใช้มาตรฐานได้มีระบบที่มี ประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

2. มาตรฐาน ISO 14000 มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

          เป็นมาตรฐานที่นำไปใช้กับการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งในส่วนของ กิจการภายใน การผลิตสินค้า และการจัดการเรื่องผลกระทบ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมถึงระบบโครงสร้างองค์กร การกำหนดความรับผิดชอบ การปฏิบัติงาน ระเบียบปฏิบัติ กระบวนการ ดูแลทรัพยากร มาตรฐาน ISO 14000 นี้ สามารถใช้ได้กับทั้งระบบอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ เช่นเดียวกับ ISO 9000 ทั้งนี้เพราะในแต่ละองค์กรมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น และ สมอ.ได้นำมาประกาศใช้ในประเทศ ไทย เมื่อปี 2540 ในชื่อ “อนุกรมมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม มอก.-ISO 14000” อนุกรมมาตรฐาน มอก.-ISO 14000 มีเนื้อหาแบ่งออกได้ ดังนี้

          ISO 14001 เป็นข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

          ISO 14004 เป็นข้อแนะนำด้านหลักการและเทคนิคในการจัดระบบ

          ISO 14010 เป็นหลักการทั่วไปของการตรวจประเมิน

          ISO 14011 เป็นวิธีการตรวจประเมินระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

          ISO 14012 เป็นข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน

          ISO 14020 เป็นหลักการพื้นฐานในการติดฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

          ISO 14021 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และสัญลักษณ์ให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการสามารถประกาศรับรองตนเองได้ ว่าได้ผลิตสินค้าและบริการที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

          ISO 14024 เป็นหลักการ ระเบียบปฏิบัติข้อกำหนดและวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของหน่วยรับรอง

          ISO 14040 เป็นหลักการพื้นฐานและกรอบการดำเนินงาน

          ISO 14041 เป็นการรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม

          ISO 14042 เป็นการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

          ISO 14043 เป็นการแปรผลที่ได้จากข้อมูล  

 

  1. มาตรฐาน ISO 17025 มาตรฐานการประเมินความสามารถทางวิชาการของ ห้องปฏิบัติการ

          ISO/IEC 17025 คือ มาตรฐานสากลซึ่งเป็นการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025

          ครอบคลุมทุกด้านของการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่การเตรียมตัวอย่างถึงความชำนาญในการ วิเคราะห์ทดสอบ ถึงการเก็บบันทึกและการรายงานผล ระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ การควบคุมเอกสาร การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน สถานที่และสภาพภาพแวดล้อม เครื่องมือของห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

 

  1. มาตรฐาน ISO 18000 มาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

          ครอบคลุมถึงแนวทางในการป้องกันมิให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและอุบัติเหตุต่างๆ ต่อผู้ปฏิบัติงานและต่อสังคม โดยรวมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดจนรวมทั้งชุมชนใกล้เคียงวัตถุประสงค์ของมาตรฐานนี้กกำหนดขึ้นเพื่อ ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทำระบบการจัดการอาชีวะอนามัยและความปลอดภัยขององค์การ และพัฒนาปรับปรุงระบบให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

ISO 18000 แบ่งออกเป็น

          - มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อกำหนด ตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 18001-2542 (Occupational health and safety management system : specification)

          - มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อแนะนำ ทั่วไปเกี่ยวกับหลักการระบบและเทคนิคในทางปฏิบัติ ตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 18004 (Occupational health and safety management systems : general guidelines on principle, systems and supporting technique

 

  1. มาตรฐาน ISO 22000 มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของอาหาร

 

          ISO 22000:2005 Food Safety Management System: FSMS ระบบการจัดการความปลอดภัยของ อาหาร ครอบคลุมทั้งข้อกำหนดของ GMP, HACCP และข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการในองค์กร มาตรฐานดังกล่าว เน้นที่ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยของอาหารให้มีความชัดเจน โดยจะเป็นที่รวมของ ข้อกำหนดในมาตรฐานต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อประกันความปลอดภัยของสินค้าตลอดเส้นทางห่วงโซ่อาหาร โดยเน้นที่การสื่อสารร่วมกันระบบการจัดการและการควบคุมอันตราย

 

สนใจสินค้า JARTON ผลิตภัณฑ์คุณภาพได้มาตรฐาน คุ้มค่าทุกการใช้งานคลิก

ก่อน 10 ขั้นตอนควรรู้ เมื่ออยากขอรับรองมาตรฐานระบบ ISO
ต่อไป JARTON พาไปรู้จัก 5 สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกที่ใช้ในไทย