เมนู Toggle

POPULAR

JARTON ได้รับคัดเลือกจากทั่วประเทศ เป็น 1 ใน 14 โรงงานนำร่อง โครงการ IDA พลังงาน

JARTON ได้รับคัดเลือกจากทั่วประเทศ เป็น 1 ใน 14 โรงงานนำร่อง โครงการ IDA พลังงาน

JARTON ได้รับคัดเลือกจากทั่วประเทศ เป็น 1 ใน 14 โรงงานนำร่อง โครงการ IDA พลังงาน

บริษัท จาร์ตัน กรุ๊ป จำกัด (JARTON) ได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 14 โรงงานนำร่องจากทั่วประเทศ ในโครงการแพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม (Industrial IoT and Data Analytics Platform) - IDA พลังงาน ซึ่งจัดโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน

            แพลตฟอร์ม IDA: Industrial IoT and Data Analytics Platform หรือแพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม เป็นแพลตฟอร์มไอโอที (IoT) Big Data อุตสาหกรรมและระบบวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงข้อมูลจากเครื่องจักรการผลิตและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและอนุรักษ์พลังงานให้ดีที่สุด

โดย IDA เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากจากอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) ตรวจจับสัญญาณต่างๆ จากเครื่องจักรในกระบวนการผลิต สู่การวิเคราะห์และบูรณาการข้อมูล ทำให้ทราบสถานภาพของเครื่องจักร นำไปสู่การบริหารจัดการการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน และตอบสนองความจำเป็นเร่งด่วนต่อการปรับตัวของ SME ในภาคการผลิต รวมทั้งสอดรับการเปลี่ยนแปลงรอบด้านหลังจากสถานการณ์โควิด-19

JARTON ได้รับคัดเลือก เป็น 1 ใน 14 โรงงานนำร่องจากทั่วประเทศ

            สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เปิดให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการแพลตฟอร์ม โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนด้านการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประกอบด้วย

  1. การประเมินระดับความพร้อมในการก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0

ด้วยดัชนีชี้วัดความพร้อมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ (Smart Industry Readiness Index: SIRI) และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

  1. การติดตั้งและใช้งานแพลตฟอร์ม IDA (ด้านการตรวจสอบและจัดการการใช้พลังงาน)

ประกอบด้วย เซนเซอร์ตรวจจับสัญญาณต่อเชื่อมผ่านอุปกรณ์ Universal Remote Terminal Unit (uRTU) ส่งข้อมูลสัญญาณต่างๆ ขึ้น NETPIE แพลตฟอร์ม IoT โดยข้อมูลจะถูกนำไปแสดงให้เห็นบน Dashboard เพื่อแสดงสุขภาพเครื่องจักร

เทคโนโลยีในแพลตฟอร์ม IDA

  1. uRTU (Universal Remote Terminal Unit) หน่วยตรวจวัดระยะไกลยูนิเวอร์แซล

โดยการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทราบต้นทุนรวมถึงภาพรวมด้านการใช้พลังงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานให้คุ้มค่าสูงสุด

  1. NETPIE (Network Platform for Internet of Everything) แพลตฟอร์มสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่ง

เนคเทคและทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) สวทช. ร่วมกันพัฒนา “NETPIE 2020” แพลตฟอร์ม IoT สัญชาติไทยเวอร์ชันใหม่ล่าสุด ซึ่งจะช่วยลดภาระและตอบโจทย์ผู้ใช้งานด้าน IoT โดยเฉพาะ ช่วยให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือระบบ IoT ต่างๆ เป็นเรื่องง่าย ตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างต้นแบบ การพัฒนาระบบเพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์ ไปจนถึงการดูแลรักษา ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ

การประยุกต์ใช้งานแพลตฟอร์ม IDA

แพลตฟอร์ม IDA เป็นแพลตฟอร์ม IoT และระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงข้อมูลจากเครื่องจักรการผลิตสู่การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) อย่างอิสระ ดังนั้น แพลตฟอร์ม IDA จึงสามารถประยุกต์ใช้งานครอบคลุมได้หลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น

  1. การตรวจวัดปริมาณการใช้พลังงานในโรงงาน (Energy Monitoring)

โดยการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทราบต้นทุนรวมถึงภาพรวมด้านการใช้พลังงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานให้คุ้มค่าสูงสุด

  1. การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต Overall Equipment Effectiveness (OEE)

โดยการเชื่อมโยงข้อมูลพารามิเตอร์ต่างๆ ของเครื่องจักรเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิผลโดยรวมที่บ่งบอกความพร้อมของเครื่องจักรซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของประสิทธิภาพการผลิต นำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างตรงจุดเพื่อเพิ่ม Productivity แก่โรงงานอุตสาหกรรม

  1. การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance)

โดยการเชื่อมโยงข้อมูลพารามิเตอร์ต่างๆ ของเครื่องจักรมาวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง ถึงความเป็นไปได้ที่เครื่องจักรจะเกิดอาการเสียหายในอนาคต ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการซ่อมบำรุง ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงาน

แพลตฟอร์ม IDA จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ  ยกระดับความสามารถสู่อุตสาหกรรม 4.0 ทำให้ประเทศไทยมี Big Data ข้อมูลสถานภาพความพร้อมของอุตสาหกรรมไทยในระดับมหภาคที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจและกำหนดนโยบายระดับชาติ ส่งผลให้นโยบาย Thailand 4.0 เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ประเทศไทยเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ก่อน PM 1.0 ขยาด อากาศสะอาด บ้านปราศจากเชื้อโรค
ต่อไป ตัวอยู่ไกล...ก็ห่วงใย “บ้าน” ได้ทันที