เมนู Toggle

POPULAR

RoHS” สังเกตไว้ มั่นใจสินค้าได้มาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม

RoHS” สังเกตไว้ มั่นใจสินค้าได้มาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม

          RoHS เป็นมาตรฐานจากสหภาพยุโรป หรือ EU โดยมีชื่อเต็มจาก Restriction of Hazardous Substances โดยระบุอยู่ในข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ซึ่งมาตรฐาน RoHS นั้นจะกล่าวถึงการใช้สารที่เป็นอันตรายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอุปกรณ์ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการดำเนินการทำงาน แผงวงจร สายไฟ เป็นต้น เพราะสารต่างๆ เหล่านี้จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการจัดการ การทำลายเศษขยะอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดกฎข้อบังคับดังกล่าวนี้ขึ้นมา เพื่อนป้องกันอันตรายและการปนเปื้อนจากการใช้งาน

          สำหรับสัญลักษณ์ของ RoHS ที่พบได้บ่อย ก็มักจะเป็น สัญลักษณ์วงกลม ที่มีตัวหนังสือ “Pb” และคาดด้วยเส้นเฉียง หรือ “RoHS Compliant” , ” Green” หรือ “Pb-Free” โดยที่สัญลักษณ์ที่แสดงจะมีความแตกต่างกัน เพราะมาตรฐาน RoHS ไม่มีสัญลักษณ์ที่เป็นทางการ

 

วัตถุประสงค์

       - เพื่อสามารถจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ได้ปลอดภัยยิ่งขึ้น

       - เพื่อลดต้นทุนการจัดการกำจัดซาก  และรีไซเคิลวัสดุได้ง่ายขึ้น

       - เพื่อได้วัสดุรีไซเคิลที่มีพิษน้อยลง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายยิ่งขึ้น

       - เพื่อลดอุปสรรคทางการค้า

 

          โดยอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวจะต้องผ่านตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ โดยจะต้องมีสะสารต่างๆ ที่ประกอบเข้าไปภายในอุปกรณ์ ดังนี้

  1. ตะกั่ว (Pb)จะต้องมีตะกั่วเป็นส่วนผสม ไม่เกิน 1%
  2. ปรอท (Hg) จะต้องมีตะกั่วเป็นส่วนผสม ไม่เกิน 1%
  3. แคดเมีนม (Cd)จะต้องมีแคดเมียมเป็นส่วนผสม ไม่เกิน 01%
  4. เฮกชะวาเลนท์ (Cr6+)จะต้องมีเฮกชะวาเลนท์เป็นส่วนผสม ไม่เกิน 1%
  5. โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ (PBB)จะต้องมีส่วนประกอบดังกล่าว ไม่เกิน 1%
  6. โพลีโบรมิเนต ไดเฟนนิล อีเธอร์ (PBDE)จะต้องมีส่วนประกอบดังกล่าว ไม่เกิน 1%

          แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์บางอย่าง ที่ยังไม่สามารถใช้สารอื่นมาทดแทนได้ หรือสารที่ใช้ทดแทน มีอันตรายมากกว่า เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งมีสารปรอทเป็นส่วนประกอบ ตะกั่วในเหล็กอัลลอย นอกจากนี้ เครื่องมือด้านการแพทย์ และการทหาร ก็อยู่ในข้อยกเว้น

 

สินค้าที่อยู่ในข้อตกกำหนดของมาตรฐาน RoHS

  1. เครื่องใช้ในครัวเรื่อนขนาดใหญ่ เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า
  2. เครื่องใช้ในครัวเรือนขนาดเล็ก เช่น เครื่องดูดฝุ่น เครื่องปิ้่งขนมปัง
  3. อุปกรณ์ไอที และโทรคมนาคม เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
  4. อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเสียง
  5. อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
  6. เครื่องมือไฟฟ้า เช่น สว่านไฟฟ้า จักรเย็บผ้า
  7. ของเด็กเล่น เช่น วิดีโอเกม รถไฟฟ้า
  8. เครื่องมือแพทย์
  9. เครื่องมือวัดหรือควบคุม เช่น ตัวปรับอุณหภูมิ เครื่องจับควัน
  10. เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ

 

มาตรฐาน RoHS มีผลกับใครบ้าง

          ในประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอมริกา จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ นอร์เวย์ อินเดีย ยูเครน สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี รัสเซีย และบราซิล เริ่มมีข้อกำหนดในลักษณะนี้เช่นกัน ดังนั้น ถ้าผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายดังกล่าว ก็ควรจะเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อกำหนดนี้ให้มากขึ้น เพราะในอนาคต ข้อกำหนดนี้น่าจะแผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วโลก

เลือกใช้อุปกรณ์ Pb-Free

          สำหรับนักอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นผู้ออกแบบวงจร สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่เป็น Pb-Free หรือ RoHS ได้ โดยผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกยี่ห้อ มักจะผลิตอุปกรณ์รุ่นที่เป็น Pb-Free ออกมาทดแทนอุปกรณ์รุ่นเก่า โดยอาจจะเพิ่มตัวอักษรเช่น ‘G’ เข้าไปใน Part Number แต่ยังคงมีมีฟังก์ชันการทำงานเหมือนกัน สามารถใช้แทนกันได้ สิ่งที่แตกต่างจากเดิมก็คือ อุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถทนความร้อนสูงที่ใช้ในการะบวนการประกอบแผงวงจรได้ เนื่องจากสารที่ใช้เชื่อม (ตะกั่ว) ที่เป็นแบบ Pb-Free นี้ จะมีจุดหลอมเหลวที่สูงขึ้นกว่าแบบที่ไม่เป็น Pb-Free แต่สำหรับท่านที่ซื้ออุปกรณ์ที่เป็น Pb-Free มาแล้ว แต่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องผ่านข้อกำหนดดังกล่าว สามารถบัดกรีด้วยตะกั่วแบบธรรมดาได้ ซึ่งจะบัดกรีง่าย และสวยงามกว่า เนื่องจากตะกั่วธรรมดาจะละลายง่าย และมีความเงางามมากกว่าตะกั่วแบบ Pb-Free

 

สนใจสินค้า JARTON ผลิตภัณฑ์คุณภาพได้มาตรฐาน คุ้มค่าทุกการใช้งานคลิก

ก่อน ไขข้อสงสัย? น้ำยาแอร์ต้องเติมบ่อยๆ หรือไม่ JARTON มีคำตอบ
ต่อไป “เครื่องปรับอากาศ” ดูแลอย่างไร ให้อยู่ทน ใช้งานได้นาน