เมนู Toggle

POPULAR

JARTON ชวนรู้จัก “สเตนเลส สตีล” วัสดุใช้ผลิตลูกบิดประตู

JARTON ชวนรู้จัก “สเตนเลส สตีล” วัสดุใช้ผลิตลูกบิดประตู

JARTON ชวนรู้จัก “สเตนเลส สตีล” วัสดุใช้ผลิตลูกบิดประตู

“สเตนเลสสตีล” คือ โลหะผสม (Ferrous Alloy) ระหว่างเหล็กกับสารหลายชนิด ที่สำคัญ คือ สารโครเมี่ยมอย่างน้อย 10% ที่ทำให้เหล็กกลายเป็นโลหะผสม ที่สามารถทนการกัดกร่อน และทนสนิมทั้งจากธรรมชาติ และจากสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น “สเตนเลส สตีล” แบ่งออกได้มากกว่า 150 ชนิด แต่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ 8 กลุ่มด้วยกันขึ้นอยู่กับส่วนผสมของธาตุต่างๆ ที่ทำให้มีคุณสมบัติบางอย่างที่แตกต่างกันไป การเลือกใช้ต้องพิจารณาจากคุณสมบัติ และความเหมาะสมของงานด้วย ส่วนผสมที่ทำให้งาน

มีคุณสมบัติแตกต่างกันหลักๆ มีดังนี้

  • สารโครเมี่ยม เป็นสารผสมหลักที่จะทำให้เหล็กมีคุณสมบัติในการทนทานต่อการเกิดสนิม และการกัดกร่อนต่างๆ
  • สารนิกเกิล ช่วยเสริมความต้านทานในการเกิดสนิม และทำให้สเตนเลสไม่ดูดแม่เหล็ก
  • สารโมลิดินั่ม ทำให้สเตนเลส มีความต้านทานในการเกิดสนิมสูงขึ้น และความคงทนต่อสารเคมี เช่น คลอรีน เป็นต้น
  • สารคาร์บอน เป็นตัวเพิ่มความแข็งให้กับสเตนเลส ถ้ามีคาร์บอนน้อย สเตนเลสก็จะมีความเหนียวเพิ่มขึ้นแทน

สแตนเลส สตีล ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในท้องตลาด คือ

สเตนเลสเกรด 304 (SUS 304)

เป็นสเตนเลสที่มีสารโครเมี่ยมอยู่ 18% และนิกเกิลอยู่ 8 % บางที่เรียกว่า สแตนเลส 18/8 ซึ่งจะไม่มีสารโมลิดินั่ม, มีคาร์บอนต่ำ และเป็นสเตนเลสที่ทนต่อการเกิดสนิม (Oxidation) และทนการกัดกร่อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี (Corrosion)

เนื่องจากมีสารนิเกิ้ลจึงทำให้แม่เหล็กดูดไม่ติด มีคาร์บอนด์ ต่ำจึงมีความเหนียวสูง สามารถใช้กับการปั๊มขึ้นรูปสูงๆ ได้ เช่น การทำอ่างซิงค์หรือภาชนะในครัวต่างๆ เพราะสามารถทนความร้อนได้ดี เช่น ลูกบิดประตู หม้อ กระทะ เป็นต้น

สเตนเลสเกรด 316 (SUS 316)

เป็นสเตนเลสที่นิยมใช้รองลงมาจากเกรด 304 เป็นสเตนเลสสตีล ที่มีส่วนผสมคล้ายกับเกรด SUS 304 แต่เกรด 316 จะมีส่วนผสมของ สารโมลิดินั่ม เพิ่มเข้าไปทำให้สเตนเลสเกรดนี้ สามารถทนต่อการเกิดสนิม และการกัดกร่อนได้สูงกว่าเกรด 304 โดยเฉพาะการทนต่อสารคลอรีน (Warm Chlorine Enviromentle) จึงนิยมใช้ในงานทำอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องแล็บ ส่วนงานอุตสหกรรมอาหาร, อุตสหกรรมสารเคมีต่างๆ, อุปกรณ์เรือ จนถึงประเภทงานสปริง ที่ต้องให้ทนสนิม โดยการลดคาร์บอนลงจาก 0.08% ลงมาเหลือ 0.03% ทำให้สเตนเลสเหนียวขึ้นจนสามารถเป็นสปริงได้ เป็นเกรด SUS 316 L (Low Carbon)

 สเตนเลสเกรด 430 (SUS 430)

เป็นสเตนเลสที่คล้ายเกรด 304 แต่จะไม่มีสารนิกเกิล จึงทำให้แม่เหล็กดูดติด แต่จะไม่ติดขนาดเหล็ก แต่ยังมีคุณสมบัติในการป้องกันสนิมได้ดี แม้จะไม่เท่าเกรด 304 แต่เกรดนี้จะมีคาร์บอนด์สูงถึง 0.12% จึงมีความแข็งแกร่งสูงกว่าสเตนเลสเกรด 304 และ 316 เหมาะสำหรับงานที่รับแรงสูงกว่า เพราะปกติสเตนเลสมักจะมีความเหนียวมากกว่าความแข็ง ในกรณีที่สารคาร์บอนสูงกว่า 0.15% จะกลายเป็นเกรด 420 ซึ่งมีความแข็งที่เหมาะสำหรับทำอุปกรณ์ชุดครัวในเรื่องการตัดหั่นต่างๆ เช่น ทำมีดต่างๆ เป็นต้น

การทำสกรูน๊อตสเตนเลสจะนิยมใช้เกรด SUS 304 เพื่อมีความคงทนต่อสิ่งแวดล้อมได้ดีพอสมควร ส่วนเกรด SUS 316 จะนิยมใช้กับงานในอุตสหกรรมเคมี ในห้องแล็บ หรือในท้องทะเล ส่วนสกรูปลายสว่านที่เป็นสเตนเลสจะเป็นเกรด SUS 410 เพราะมีความแข็งพอใช้ และเกรด 304 หรือเกรด 316 ใช้ไม่ได้ เพราะมีความแข็งไม่พอ แต่ความสามารถในการทนสนิมจะน้อยกว่า

สแตนเลสเกรด 202 (SUS202)

เป็นสแตนเลสอีกเกรดที่น่าสนใจ ซึ่งจะประกอบด้วย โครเมี่ยม, นิกเกิล และแมงกานีส ซึ่งแม่เหล็กดูดไม่ติด แต่ความทนทานต่อสนิมจะต่ำกว่าเกรด SUS 304 มักนิยมใช้ในงานผลิตสินค้า ฮาร์ดแวร์ ต่างๆ เช่น บานพับ และกลอนประตูเกรดล่าง


สนใจ ลูกบิดประตู JARTON คลิก

ก่อน 7 เทคนิคทำให้ ‘บ้าน’ ปลอดภัย โจรไม่ปลื้ม
ต่อไป กว่าจะเป็น “กุญแจล็อกบ้าน” อย่างทุกวันนี้ มีที่มาอย่างไร?