เมนู Toggle

POPULAR

เทคนิคเลือกฝักบัวอย่างไร ให้โดนใจคนในบ้าน

เทคนิคเลือกฝักบัวอย่างไร ให้โดนใจคนในบ้าน

          ‘ฝักบัวอาบน้ำ’ อาจเป็นส่วนเล็กๆ ในห้องน้ำ แต่ถือเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ และควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมด้วย มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาระหว่างอาบน้ำให้รำคาญใจ JARTON ชวนไปดูเคล็ดลับการเลือก “ฝักบัวอาบน้ำ” ให้ถูกใจและตอบโจทย์การใช้งานของแต่ละบ้านมากที่สุด

 

ประเภทของฝักบัว

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักประเภทของฝักบัวกันเสียก่อน ซึ่งมี 4 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

  1. ฝักบัวชนิดก้านแข็ง

ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ โดยทั่วไปสามารถปรับระดับน้ำได้ประมาณ 3 ฟังก์ชั่น ทั้งความแรงและการกระจายตัวของน้ำ

  1. ฝักบัวชนิดสายอ่อน

เป็นฝักบัวแบบที่สามารถถอดเคลื่อนย้ายได้ตามใจชอบ มีสายยาวทั้งแบบสายโลหะและสายยาง

  1. ฝักบัวแบบติดกับผนัง

มักจะมีความสูงประมาณตัวคน คล้ายๆ ฝักบัวมือหรือฝักบัวสายอ่อน แต่จะไม่มีสายระโยงระยางและไม่สามารถถอดออกมาถือได้ข้อดีคือหมดกังวลเรื่องสายหลุดออกจากแท่น

  1. ฝักบัวติดเพดาน

ฝักบัวประเภทนี้จะถูกฝังติดอยู่กับฝ้า และอยู่ตรงกับศีรษะพอดี ให้ความรู้สึกเหมือนอาบน้ำท่ามกลางสายฝน เห็นได้ตามโรงแรมหรือรีสอร์ททั่วไป

 

ตรวจสอบสภาพน้ำในบ้าน

          เมื่อทำความรู้จักกับฝักบัวแต่ละประเภทแล้ว ควรเช็กสภาพน้ำในบ้านด้วย เพื่อเลือกฝักบัวให้เหมาะสม สำหรับบ้านที่มีน้ำประปา สามารถใช้ได้ทั้งหัวโลหะและพลาสติก แต่บ้านที่เป็นน้ำกร่อยในต่างจังหวัด ขอแนะนำให้ใช้หัวพลาสติกและยางแทน เพื่อป้องกันสนิม และควรใช้น้ำที่ผ่านเครื่องกรอง เพื่อป้องกันตะกอนอุดตันที่ฝักบัว

เลือกวัสดุฝักบัว

         ปัจจุบัน ฝักบัวผลิตจากวัสดุหลากหลายประเภท เช่น พลาสติก อะลูมิเนียม โครเมียม ซึ่งแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน เช่น แบบพลาสติกจะมีน้ำหนักเบา ยกเคลื่อนย้ายยามอาบน้ำได้ง่าย แต่อาจจะไม่ทนทานเท่าแบบโครเมียม ซึ่งมีราคาสูงกว่า และมีดีไซน์สวยงามกว่า เป็นต้น ทั้งนี้ควรเลือกให้เข้ากับความต้องการและสไตล์การตกแต่งห้องน้ำด้วย

          หนึ่งในข้อสำคัญในการเลือกใช้งานฝักบัว คือ ควรพิจารณาคุณสมบัติการปรับทิศทางน้ำและฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น แรงดันการฉีดน้ำ กระจายตัวของน้ำ ให้เหมาะกับความต้องการการใช้งาน เพื่อความสบายระหว่างอาบน้ำมากที่สุด

 

 

สนใจ ฝักบัวอาบน้ำ JARTON สินค้าคุณภาพ มั่นใจทุกการใช้งานคลิก

ก่อน 7 ทริกดูแลและใช้เครื่องฟอกอากาศอย่างไร? ให้พิฆาตเชื้อโรคเต็มประสิทธิภาพ
ต่อไป รู้หรือไม่? อากาศที่หายใจ มีอะไรอยู่ในนั้น