เมนู Toggle

POPULAR

เทคนิคป้องกัน “กระแสไฟฟ้ารั่ว” เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

เทคนิคป้องกัน “กระแสไฟฟ้ารั่ว” เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

         หลายคนคงจะเคยประสบกับตัวเอง หรือได้ยินคำว่าไฟดูดมาบ้างแล้ว ซึ่ง ไฟฟ้าดูด (Electric shock) คือ การที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย เนื่องจากร่างกายไปสัมผัสกับส่วนที่มีไฟฟ้า ความรุนแรงของไฟฟ้าดูดนั้นทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งส่วนหนึ่งของการที่คนถูกไฟฟ้าดูดก็คือการที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้นที่เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือวงจรไฟฟ้าแล้วคนไปสัมผัสถูกนั่นเอง

 1.กระแสไฟฟ้ารั่วและการป้องกัน

         1.1 กระแสไฟฟ้ารั่ว หมายถึงอะไร

         กระแสไฟฟ้ารั่ว หรือไฟรั่ว หมายถึง การที่กระแสไฟฟ้าได้รั่วไหลจากวงจรไฟฟ้าไปที่ผิวของสายไฟฟ้า หรือโครง (ผิว หรือโครงที่เป็นโลหะเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า) ของอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรั่วไปที่ผิวของโครง หรือผนังของจุดติดตั้งระบบ ไฟฟ้า เช่น เสาโลหะโคมไฟส่องสว่าง เสาโลหะกล้อง CCTV เป็นต้น ทำให้จุดเหล่านั้นมีกระแสไฟฟ้า หรือแรงดันไฟฟ้า ซึ่งถ้าคนไปสัมผัสอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

 

          1.2 กระแสไฟฟ้ารั่ว เกิดจากอะไร

          กระแสไฟฟ้ารั่วเกิดได้หลายสาเหตุ เริ่มตั้งแต่การติดตั้งเดินสายไฟที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน การขาดการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง ตลอดไปจนถึงการเสื่อมสภาพของฉนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้มาเป็นเวลานาน เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการที่ฉนวนที่ใช้ห่อหุ้ม ใช้พัน หรือใช้คั่นส่วนที่มีแรงดันไฟฟ้า เกิดชำรุด หรือเสื่อมสภาพ ทำให้ตัวนำ หรือจุดเหล่านั้นมีแรงดันไฟฟ้า แล้วไปสัมผัสกับโครงโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้าจึงเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วขึ้น

 

          1.3 การเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว มีผล หรือเกิดอันตรายได้อย่างไร

          การเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วมีผล หรืออันตรายดังนี้

          1.ผู้ที่ไปจับต้อง หรือสัมผัสส่วนที่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว จะทำให้ถูก กระแสไฟฟ้าดูด ความเป็นอันตรายของกระแสไฟฟ้าขึ้นอยู่กับ ปริมาณของกระแสไฟฟ้าและระยะเวลาที่ถูกไฟดูด ความ รุนแรงของไฟดูดนั้นถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

          2.ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยเปล่าประโยชน์ เนื่องจาก กระแสไฟฟ้ารั่วจะพยายามไหลไปตามสิ่งที่เป็นสื่อไฟฟ้า เพื่อลงดินและทำให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งเปรียบเสมือน น้ำประปารั่วตามจุดต่าง ๆ ในบ้านก็จะเป็นการสูญเสียน้ำ โดยเปล่าประโยชน์และเสียค่าน้ำเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

          3.เป็นเหตุให้เกิดอัคคีภัยขึ้นได้ เนื่องจากบริเวณ หรือจุดที่เกิด กระแสไฟฟ้ารั่ว จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจนเกิดความร้อนขึ้นและหากความร้อนสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการติด ไฟจนเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ได้

 

          1.4 ตรวจสอบได้อย่างไรว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่ว หรือไม่

          ระบบไฟฟ้าที่เราใช้กันในบ้านอยู่อาศัย การตรวจสอบว่ามี กระแสไฟฟ้ารั่ว หรือไม่นั้น สามารถตรวจสอบได้เองโดยใช้ไขควงเช็คไฟ (Test Lamp) ตรวจสอบ ให้จับที่ด้ามไขควงและนำปลายไขควงไปแตะ จุดที่ต้องการตรวจสอบ หากเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟอยู่ ให้แตะที่ผิวที่โครงซึ่งเป็นโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ ถ้าพบว่าหลอดไฟที่ด้ามไขควง สว่างขึ้น แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตรวจสอบเกิดไฟรั่ว ควรระวังอย่าไป แตะต้อง หรือหลีกเลี่ยงการใช้งาน สำหรับการตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า ในบ้านรวมถึงสายไฟ ว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่ว หรือไม่ จะต้องให้ช่าง หรือผู้ มีความรู้ ความชำนาญ เป็นผู้ตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่ว เพื่อความ ปลอดภัยต่อไป

 

          1.5 ป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว ได้อย่างไร

          การป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วในระบบไฟฟ้าแรงต่ำ (ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือน หรือที่ใช้ทั่วไป) สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

          1.ติดตั้งระบบไฟฟ้าที่มีสายดิน ซึ่งสายดินมีความสำคัญและเป็นมาตรการหลักในการที่จะช่วยป้องกันชีวิตจากอันตรายของกระแสไฟฟ้ารั่ว โดยสายดินที่ใช้มีสัญลักษณ์เป็นสายสีเขียว หรือสีเขียวแถบสีเหลือง โดยที่อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เต้าเสียบจะเป็นแบบ 3 ขาและเต้ารับจะเป็นแบบ 3 รู ซึ่งจะ ช่วยป้องกันอันตราย จากกระแสไฟฟ้ารั่วได้ โดยกระแสไฟฟ้า รั่วจะไหลไปตามสายดิน (ดังรูปที่ 3) แล้วลงดินที่แผงเมนสวิตช์

          2.ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว หรือที่เรียกว่า เครื่องตัดไฟรั่ว ซึ่งใช้ เป็นอุปกรณ์ป้องกันสำหรับตัดไฟรั่ว เมื่อถึงค่ากระแสรั่วที่กำหนด

          3.หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือจับต้องอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือวงจรไฟฟ้า โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้าและควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่งในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือยืนอยู่ บนที่เปียกแฉะ ขณะจับต้องอุปกรณ์ไฟฟ้า

          4.ใช้วัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าปูพื้น เช่น แผ่นไม้แห้ง, แผ่นยาง, แผ่นพลาสติก เป็นต้น และให้ยืนบนฉนวนนั้นเมื่อจำเป็นต้อง สัมผัส หรือจับอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือวงจรไฟฟ้า

          5.หากจำเป็นต้องสัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือสิ่งที่เป็นสื่อนำ ไฟฟ้าดังกล่าว โดยสงสัยว่ามีไฟรั่ว หรือไม่ ให้ใช้ไขควงเช็กไฟตรวจสอบจุดที่สัมผัสก่อน เมื่อพบว่าไม่มีไฟรั่วจึงสัมผัส หรือจับต้องได้

.

.

ที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

.

.

สนใจเต้ารับวัดพลังงาน USA+2USB 131311 JARTON สั่งการได้ทุกที่ สะดวกสบาย สินค้าคุณภาพได้มาตรฐานคลิก

ก่อน จริงไหม? “หุ่นยนต์ดูดฝุ่น” ช่วยลดอาการแพ้ฝุ่นได้
ต่อไป 4 ข้อควรคิด เมื่อต้องการซื้อ “เครื่องฟอกอากาศ” พิชิตฝุ่นตัวร้ายที่บ้าน