เมนู Toggle

POPULAR

Tips แก้ปัญหาและป้องกันมดเข้าปลั๊กไฟ ก่อนปัญหามาเยี่ยมเยือน

Tips แก้ปัญหาและป้องกันมดเข้าปลั๊กไฟ ก่อนปัญหามาเยี่ยมเยือน

Tips แก้ปัญหาและป้องกันมดเข้าปลั๊กไฟ ก่อนปัญหามาเยี่ยมเยือน

ปลั๊กไฟเป็นอุปกรณ์ที่มีอยู่ทุกบ้าน มีหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อ เพื่อนำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ เพื่อให้ใช้งานได้ ปลั๊กไฟจะถูกติดตั้งอยู่หลายจุดทั่วบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้อยู่อาศัย ท่านผู้อ่านบางท่านอาจเคยเห็นมดเดินเข้าออกปลั๊กไฟบางจุด บางท่านอาจไม่ใส่ใจ จนเกิดปัญหากับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน หรือจนกว่าจะเริ่มมีมดเดินเข้าออกปลั๊กไฟจำนวนมาก ในบทความนี้เราจะมาแชร์ข้อมูลและวิธีการแก้ปัญหามดเข้าปลั๊กไฟกัน

 

มดเดินเข้าออกปลั๊กไฟมากแค่ไหน? เราจึงควรให้ความสนใจ

จริงๆแล้วถ้าเราเห็นมดเดินเข้าออกปลั๊กไฟแค่ 2-3 ตัว เราก็ควรให้ความสนใจได้แล้ว เพราะนั่นคือสัญญาณของการที่มดให้ความสนใจต่อปลั๊กไฟในจุดนั้น เราควรจัดการตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าปล่อยไว้นานเกินไป อาจมีแนวโน้มที่มดจะเข้าไปทำรังหรือตั้งรกรากในปลั๊กไฟสูงมาก ถึงตอนนั้น เราอาจไม่สามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตัวเอง อาจมีความจำเป็นต้องตามช่างไฟและบริษัทกำจัดมดเข้ามาดูแลให้เสียทั้งเงินทองและเวลา

 

ทำไมมดถึงเข้าปลั๊กไฟ?

ธรรมชาติของมดชอบทำรังในดินหรือในต้นไม้ แล้วสร้างที่อยู่ที่มีลักษณะเป็นโพรงอยู่ด้านใน เนื่องจากด้านในของปลั๊กไฟมีลักษณะหลุมลงไปในกำแพง จึงเป็นชัยภูมิที่ดีของมดในการสร้างรัง ขยายอาณาจักรหรือใช้เป็นเส้นทางเดินออกไปสู่รังที่อยู่นอกบ้านได้ โดยมดอาจใช้ปลั๊กไฟเป็นประตูเข้าออกบ้านของท่านและขยายรังไปตามด้านในของกำแพงก็ได้

 

มดเข้าปลั๊กไฟทำให้เกิดปัญหาอะไรบ้าง?

เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมดเข้าไปทำรังในปลั๊กไฟ

  1. เกิดไฟช็อตบ่อยๆ

เนื่องจากตัวมดเองและดินที่มดขนเข้าไปทำรังในปลั๊กไฟมีความชื้นและนำไฟฟ้าได้ จึงให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ง่าย ถ้าบ้านไหนมีเซฟทีคัทป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ตัวเซฟทีคัทอาจจะต้องทิปหรือเด้งบ่อยๆ เพราะไฟฟ้าลัดวงจรทำให้กระแสไฟฟ้าเกิน หรือถ้าบ้านไหนไม่มีเซฟทีคัทก็น่ากลัวหน่อย เพราะไฟฟ้าลัดวงจรมักเป็นสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ภายในบ้านได้

 

  1. สายไฟที่ต่อกับปลั๊กไฟเสื่อมสภาพหรือถูกกัดกร่อน

ส่งผลให้การนำไฟฟ้าเข้าสู่อุปกรณ์ไฟฟ้าทำได้ไม่ดี ดังนั้น เครื่องใช้ไฟฟ้าอาจไม่ทำงานหรือทำงานผิดปกติ เพราะไฟไม่เข้าหรือไฟไม่พอได้

 

มดเข้าปลั๊กไฟทางไหนได้บ้าง?

            หลายๆท่านอาจตอบว่า “ก็เข้าทางรูปลั๊กไฟไง” ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกต้อง แต่ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะในความเป็นจริงแล้ว มดสามารถเข้าปลั๊กไฟได้อีกทางหนึ่ง คือ ทางกำแพงบ้าน

สมมุติว่าบ้านเราสร้างด้วยไม้หรือปูน โดยทั่วไปแล้ว บริเวณรอบๆ บ้านต้องมีพื้นดินที่อาจมีมดอาศัยอยู่ หากหาอาหารและน้ำนอกบ้านของเราได้ไม่เพียงพอ มดจะหาทางเข้าบ้านของเราเพื่อหาอาหารและน้ำเพิ่มเติม ท่างที่ง่ายที่สุดที่มดใช้เข้าบ้านของเรา คือ กำแพงบ้านชั้นล่างสุด เพราะอยู่ติดกับพื้นดินและอยู่ใกล้รังมดมากที่สุด

ถ้ากำแพงบ้านของเราเป็นไม้เป็นเรื่องง่ายที่มดจะเจาะเข้ามาได้ ถ้ากำแพงบ้านของเราเป็นปูน มดจะเข้ามาตามรอยแตกหรือรอยแยกของกำแพง และเดินตามรอยแตกมาเรื่อยๆ จนมาเจอปลั๊กไฟและเข้าสู่ภายในบ้านของเราผ่านรูปลั๊กไฟได้ ดังนั้น มดจะเข้าปลั๊กไฟได้สองทาง คือ เดินเข้าบ้านเราด้วยช่องทางอื่น เช่น ประตู หน้าต่างและเดินเข้ารูปลั๊กไฟหรือเข้าทางด้านหลังของปลั๊กไฟผ่านทางกำแพงบ้าน

 

ถ้ามดเข้าไปทำรังในปลั๊กไฟแล้วควรทำอย่างไรดี?

หากมีมดทำรังในปลั๊กไฟแล้ว เราไม่ควรจัดการเอง เพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับไฟฟ้าและมดพร้อมกัน สิ่งที่แนะนำให้ทำคือ การติดต่อให้ผู้ชำนาญการ ด้านการจัดการมดมาเคลียร์ปัญหาให้เรียบร้อยพร้อมๆ กับตามช่างไฟมาตรวจสอบเรื่องสภาพสายไฟ ปลั๊กไฟและระบบไฟฟ้า

ความยากง่ายในการจัดการปัญหามดเข้าปลั๊กไฟ ขึ้นอยู่กับว่ามดได้สร้างความเสียหายไว้มากน้อยเพียงใด

ถ้ามดมาจากนอกบ้านผ่านกำแพงไปปลั๊กไฟ กรณีต้องดูว่ามีมดทำรังในกำแพงหรือไม่? ถ้าพบว่ามีมดมาทำรังในกำแพงบ้านของเราก็ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะนอกจากจะต้องซ่อมสายไฟหรือปลั๊กไฟแล้ว อาจจะต้องมีงานซ่อมกำแพงเพิ่มเติมเข้ามา

ถ้ามดเข้าบ้านผ่านช่องทางอื่น (ประตู หน้าต่าง) แล้วเดินเข้าสู่ปลั๊กไฟ กรณีแบบนี้ความเสียหายจากมดเข้าปลั๊กไฟมักไม่รุนแรง เพราะมดจะทำรังอยู่ในปลั๊กไฟเท่านั้น

 

การป้องกันไม่ให้มดกับมาทำรังที่ปลั๊กไฟอีก

วิธีการต่อไปนี้ใช้ได้ผลดี ไม่ว่าเราจะมีผู้ชำนาญการด้านการกำจัดมดมาเป็นผู้ช่วยหรือไม่? หากมีผู้ชำนาญการมาเป็นผู้ช่วย มดอาจถูกกำจัดแบบยกรัง และมีการใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่นเพื่อป้องกันมดเข้าบ้าน

อย่างไรก็ตาม แม้มดจะถูกกำจัดยกรังก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีมดกลุ่มใหม่เกิดขึ้น แล้วเกิดเหตุการณ์ซ้ำเดิมอีก เราอาจจะต้องเจอและสู้กับมดกลุ่มใหม่ และมดอาจจะเข้าบ้านด้วยช่องทางอื่นก็เป็นได้

 

เทคนิคดังต่อไปนี้ช่วยให้มดไม่กลับมาทำรังที่ปลั๊กไฟซ้ำอีก

  1. ถ้าเห็นมดเข้าออกปลั๊กไฟ แม้เพียง 2-3 ตัวอย่านิ่งนอนใจ

ให้เราตรวจสอบหาเส้นทางเดินของมด มดมาจากไหน? รังอยู่ไหน? จะช่วยให้จัดการปัญหาได้ทันท่วงที ประหยัดเวลาและเงินได้มหาศาล (ไม่แนะนำให้ฆ่าหรือทำลายรังมด เพราะการป้องกันการเข้าถึงอาหารและน้ำภายในบ้าน ก็มักจะเพียงพอและทำให้มดไม่เข้ามาวุ่นวายในบ้านแล้ว)

 

  1. ปลั๊กไฟที่มดเข้าไปทำรัง มักจะมีอาหารและน้ำอยู่ใกล้ๆ

จากทดลองแม้ปลั๊กไฟจะเป็นทำเลที่ดีในการทำรังของมด หากเราป้องกันการเข้าถึงอาหารและน้ำของมดได้แล้ว มดก็จะไม่ทำรังในปลั๊กไฟหรือถ้าทำรังอยู่ก็จำต้องย้ายหนี ดังนั้น สิ่งที่ควรทำก่อนการไล่มดออกจากปลั๊กไฟ คือ การป้องกันไม่ให้มดเข้าถึงอาหารและน้ำในบริเวณนั้นได้ (ส่วนจะป้องกันอาหารและน้ำด้วยวิธีไหนบ้าง? ต้องดูหน้างานเป็นกรณีไป)

 

  1. พิจารณาที่จะปิดปลั๊กไฟที่เกิดปัญหา

โดยการใช้เทปพันสายไฟปิดรูปลั๊กเพื่อไม่ให้มดเดินเข้าออกได้ วิธีนี้แก้ปัญหาเรื่องมดเข้าปลั๊กไฟได้ค่อนข้างดี แต่มีข้อเสียคือ เราจะไม่สามารถใช้ไฟตรงปลั๊กนั้นได้อีก

 

  1. ป้องกันปลั๊กไฟจากมดด้วยเจลกันมดปลอดภัย

โดยใช้การทาเจลบริเวณรอบๆ ปลั๊กไฟ มดจะเดินเข้าออกปลั๊กไฟไม่ได้ สุดท้ายมดจะอยู่ไม่ได้และล้มเลิกการทำรังตรงปลั๊กไฟไป วิธีนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ดี เพราะนอกจากจะกันมดออกไปได้แล้ว เรายังสามารถใช้ไฟฟ้าจากปลั๊กไฟได้ตามปกติ ถ้ามดไปหมดแล้วหรืออยู่ในฤดูที่ไม่ค่อยมีมด เราสามารถเช็ดเอาเจลกันมดออก หรืออยากจะทาใหม่ตอนไหนก็ทาได้ตลอดเวลา


.

.

#JARTON #SmartPowerStrip #ปลั๊กไฟ #ปลั๊กไฟคุณภาพ #มาตรฐานURS #UnitedRegistrarOfSystems

.

.

ก่อน ควรทำอย่างไร? เมื่อบ้านเกิดปัญหาไฟดับแค่หลังเดียว
ต่อไป “ปลั๊กไฟ” แต่ละประเทศไม่เหมือนกัน รู้ไว้..ตอนใช้ไม่เกิดปัญหา