เราใช้คุกกี้เพื่อทำให้ประสบการณ์ของคุณดีขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งใหม่ของ e-Privacy เราจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณในการตั้งค่าคุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติม
สีของสายไฟ มีความหมายอย่างไร
หลายคนอาจสงสัยว่า สีสายไฟ แต่ละสีมีความหมายหรือไม่อย่างไร บทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจเหล่านี้ให้หมดไป ด้วยความหมายของแต่ละสีของสายไฟ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
สีสายไฟ
- สีดำ (เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล) หมายถึง ลวดความร้อน หรือลวดที่มีกระแสไฟฟ้าและนำพลังงานไปสู่วงจรทั้งหมด ส่วนใหญ่จะจ่ายไฟไปยังเต้าเสียบหรือสวิตช์ไฟฟ้า
- สีแดง (เปลี่ยนเป็นสีดำ) หมายถึง ลวดความร้อนสายที่สองสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น แอร์, เตาอบ , โทรทัศน์ เป็นต้น
- สีน้ำเงิน และ สีเหลือง (เปลี่ยนเป็นสีเทา) หมายถึง ลวดความร้อน ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าเคลื่อนที่ ที่ใช้ปลั๊กทั่วไป เช่นพัดลม โคมไฟ เครื่องดูดฝุ่นเป็นต้น
- สีขาว หรือ สีเทา (เปลี่ยนเป็นสีฟ้า) หมายถึง สายกลางที่จำเป็นสำหรับความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้า
- สีเขียว หมายถึง สายดิน ช่วยป้องกันการเกินไฟฟ้าช็อตได้ ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟไหม้
สีสายไฟ ตามมาตรฐานของประเทศไทยสามารถจำแนกสีได้ดังนี้
สีสายไฟ จากเดิม
L1 – สีดำ
L2 – สีแดง
L3 – สีฟ้า
N – สีขาว/เทา
G – สีเขียวแถบเหลือง
สีสายไฟ เปลี่ยนใหม่
L1 – สีน้ำตาล
L2 – สีดำ
L3 – สีเทา
N – สีฟ้า
G – สีเขียวแถบเหลือง
ซึ่งระบบ 1 เฟสและ 3 เฟส จะมี สีสายไฟ แตกต่างกันตามนี้
ระบบ 1 เฟส
สายเฟส (L) ฉนวนเป็น สีน้ำตาล
สายนิวทรัล (N) ฉนวนเป็น สีฟ้า
สายดิน (G) ฉนวนเป็น สีเขียวแถบเหลือง
ระบบ 3 เฟส
สายเฟส (L1) ฉนวนเป็น สีน้ำตาล
สายเฟส (L2) ฉนวนเป็น สีดำ
สายเฟส(L3) ฉนวนเป็น สีเทา
สายนิวทรัล (N) ฉนวนเป็น สีฟ้า
สายดิน (G) ฉนวนเป็น สีเขียวแถบเหลือง
จะเห็นได้ว่าสายไฟมีคุณลักษณะหลากหลายประเภท ดังนั้นการจะจำแนกแยะแยะสายไฟแต่ละประเภท ไม่วาจะเป็น สาย THW / สาย VCT / สาย CV หรือสายอื่นๆ จะแยกเป็นสี เพื่อทำให้ง่ายต่อการทำงานและมีความปลอดภัยสูงยิ่งกว่าการทำสัญลักษณ์ในรูปแบบอื่นๆ หากคุณต้องการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ควรให้ช่างหรือผู้เชี่ยวชาญระบบไฟฟ้าช่วยดูแลจะปลอดภัยมากกว่า
Login and Registration Form