เราใช้คุกกี้เพื่อทำให้ประสบการณ์ของคุณดีขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งใหม่ของ e-Privacy เราจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณในการตั้งค่าคุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติม
รอบรู้เรื่องสายไฟ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ในเรื่องของกระแสไฟฟ้า เป็นเรื่องที่สำคัญมากหากทำผิดพลาด อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตทั้งการติดตั้ง การเลือกใช้ต้องใส่ใจและระมัดระวัง ทำให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยอย่างที่สุดกระแสไฟฟ้าที่เราใช้ภายในบ้านนั้น เป็นกระแสไฟที่ถูกส่งมาจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าผ่านสายส่ง สายไฟมิเตอร์วัดการใช้พลังงานไฟฟ้า เข้าสู่ตู้ไฟฟ้าภายในบ้านแล้วส่งต่อไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งการติดตั้งหรือเดินสายไฟภายในบ้านก็จะประกอบด้วย ตู้เมน สายส่งไฟฟ้า สายไฟฟ้า สายดิน และมิเตอร์ไฟฟ้า
ทำความรู้จักอุปกรณ์สำคัญเกี่ยวกับไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้า หรือเซอร์กิต คือ ชุดอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับสายไฟฟ้าธรรมดาเส้นหนึ่ง ซึ่งมีอุปกรณ์ป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟไปยังตัวรับกระแสเทคนิคการติดตั้งแผงวงจรไฟฟ้า
3.กำหนดขนาดของแผงวงจรให้เผื่อการเพิ่มขยายในอนาคตอย่างน้อย 25%
แผงควบคุมหลัก (ตู้ไฟฟ้า) คือ ตู้ไฟฟ้าสำหรับครัวเรือน ภายในประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าชนิดต่างๆ เช่น เบรคเกอร์ ช่วยตัดไฟเวลาเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
ตัวนำไฟฟ้า คือ สายไฟ หรือสิ่งที่เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าไปสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า
กล่องสวิตช์ ใช้เพื่อกำหนดจัดวางต้นกำเนิดกระแสไฟฟ้าจากสายหลักและเพื่อติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการเดินสายไฟฟ้า เช่น ปลั๊ก สวิตช์
ปลั๊ก คือ อุปกรณ์ที่ส่งกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ โดยการเสียบเข้ากับเต้ารับที่กล่องสวิตช์
สวิตช์ คือ อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดของแหล่งกำเนิดแสง หรือควบคุมการทำงานของเครื่องใช้ที่ต้องเปิดกระแสไฟฟ้า เช่น ปั๊มน้ำ
หลอดไฟและดวงโคมต่างๆ คือ แหล่งกำเนิดแสงสว่างโดยรับพลังงานกระแสไฟฟ้ามาจากจุดปล่อยกระแสไฟภายในบ้าน
สายดิน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการเดินสายไฟฟ้า เพราะสายดินจะปล่อยกระแสไฟฟ้าลงสู่ใต้ดิน เมื่อเกิดไฟรั่ว ไฟช็อต โดยไม่ให้ไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมนุษย์ ฉะนั้นการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องไม่ลืมติดตั้งสายดินด้วย
เทคนิคการติดตั้งสายดิน
สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงและความผิดปกติของการใช้ไฟฟ้า
การใช้ไฟฟ้ามากเกินไป เป็นความผิดปกติที่เกินจากมีกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเกินกว่าปกติ เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้ามากเกินไป โหลดหรือเชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้าเดียวกัน ทำให้รางร้อยสายมีความร้อนสูงกว่าปกติ ไฟฟ้าลัดวงจร เกิดจากการที่สายเฟสและสายนิวทรัลของตัวนำไฟฟ้า (สายไฟ) มาสัมผัสกันโดยไม่มีฉนวนป้องกัน ซึ่งเกิดจากความทรุดโทรม ระหว่างเกิดการลัดวงจร ปริมาณกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นมากทำให้ตัวนำไฟฟ้าหรือคอนดักเตอร์ละลายในจุดที่มีการสัมผัสกัน เกิดความร้อนสูงและประกายไฟ เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
อุปกรณ์ป้องกัน : ติดตั้งเทอร์โม-แมกเนติกเซอร์กิตเบรกเกอร์แบบอัติโนมัติ ช่วยตัดกระแสไฟฟ้า การชำรุดของฉนวน อาจเกิดจากการใช้งาน รอยฉีกขาดที่เกิดขึ้นในตัวนำไฟฟ้าหรือสายไฟสายหนึ่งหรือมากกว่าอยู่ภายใน หรือการประกบหุ้มฉนวนไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดไฟฟ้ารั่ว ส่งผลให้ไฟฟ้าดูดผู้ใช้อุปกรณ์ได้
อุปกรณ์ป้องกัน : ติดตั้งสวิตช์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว เพื่อช่วยตัดกระแสไฟฟ้าที่จะไหลผ่านร่างกายมนุษย์
Login and Registration Form