เมนู Toggle

POPULAR

เลือกสายฉีดชำระแบบไหน ให้เหมาะกับการใช้ในคอนโด

เลือกสายฉีดชำระแบบไหน ให้เหมาะกับการใช้ในคอนโด

                      เลือกสายฉีดชำระแบบไหน ให้เหมาะกับการใช้ในคอนโด

         สายฉีดชำระ เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่พบเห็นได้ตามคอนโดมิเนียมทั่วไป และเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลย ในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อใช้งานไปนานๆ อุปกรณ์ภายในของสายฉีดชำระมักเกิดการชำรุด อย่าง ‘ตัวสต็อปวาล์ว (Stop Value)’ ที่มีคุณภาพต่ำ ‘ชิ้นส่วนโลหะเกิดการสึกหรอ’ หรือเป็นสนิมเร็ว หรือ’ปะเก็นยาง (แหวนยาง)’ มีการฉีกขาด ทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่ว น้ำหยดตามมาได้ เพราะฉะนั้นหากต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ผู้พักอาศัยจึงควรสังเกตอุปกรณ์ในห้องน้ำทุกครั้งก่อนการเลือกซื้อคอนโด เพื่อไม่ให้มีปัญหาชวนปวดหัวตามมาทีหลัง

       สายฉีดชำระมีอยู่หลายประเภท แต่ที่พบเห็นบ่อยๆ ตามคอนโดมิเนียมทั่วไป จะมีหัวชำระทองเหลืองชุบโครเมียม หัวชำระพลาสติก และหัวชำระสแตนเลส ซึ่งสายฉีดชำระแต่ละประเภทก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน

ประเภทสายฉีดชำระที่นิยมใช้ในคอนโดมิเนียม

  1. สายฉีดชำระหัวโครเมียม

        สายฉีดชำระประเภทนี้จะมีความแข็งแรง ไม่เปราะหักง่าย มีความทนทานและป้องกันการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี คอนโดมิเนียมในปัจจุบันจะนิยมใช้สายฉีดชำระประเภทนี้กัน เพราะให้ความสวยงามกว่าสายฉีดชำระหัวพลาสติก

  1. สายฉีดชำระหัวพลาสติก

        สายฉีดชำระประเภทนี้จะมีราคาถูกกว่าประเภทอื่น และค่อนข้างชำรุดแตกหักง่าย มักพบเห็นตามคอนโดมิเนียมสมัยก่อน

  1. สายฉีดชำระหัวสแตนเลส

        สายฉีดชำระประเภทนี้จะมีความทนทาน แข็งแรงใกล้เคียงกับชนิดหัวโครเมี่ยม แต่เมื่อใช้ไปสักระยะก็จะเกิดสนิทได้เช่นกัน แถมราคาก็ค่อนข้างพอสมควร

ควรเลือก “สายฉีดชำระ” ประเภทไหนดี?

            การเลือกสายฉีดชำระสำหรับผู้ที่อยู่ “คอนโด” แนะนำว่าควรเลือก หัวชำระที่ทำจากโลหะ เคลือบด้วยโครเมี่ยมจะดีที่สุด เพราะมีความแข็งแรง ทนทานกว่าชนิดที่ทำจากพลาสติก และยังป้องกันสนิมได้เป็นอย่างดีหากเทียบกับหัวชำระสแตนเลส ส่วนสายยางส่งน้ำให้สังเกตว่าเป็นสายโลหะถักหรือไม่ เพราะสายยางที่หุ้มด้วยโลหะถักจะช่วยป้องกันเรื่องการหักงอของสายยางได้ และที่สำคัญผู้พักอาศัยควรสังเกต สต๊อปวาล์ว ให้ดี เพราะคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่มักติดตั้งไว้ใต้ชักโครกเพื่อหลบสายตา ดังนั้นหัวบิดสต็อปวาล์วจึงควรเปิด - ปิดง่าย และแยกออกมาจากวาล์วของชักโครก เพื่อความสะดวกในการซ่อมแซม

ก่อน เทคนิคเปลี่ยนบานพับประตู ทำได้..ไม่ง้อช่าง
ต่อไป วิธีเปลี่ยนสายฉีดชำระ เรื่องง่าย..ทำได้ด้วยตัวเอง