เมนู Toggle

POPULAR

ปัญหาที่ควรรู้ก่อนจะมีปัญหากับ "ข้างบ้าน"

ปัญหาที่ควรรู้ก่อนจะมีปัญหากับ "ข้างบ้าน"

1. เราสนิทแต่ไม่ต้องชิดเขต (บ้าน)
ตามกฎหมายเรามีสิ่งที่เรียกว่า "แดนกรรมสิทธิ์" ซึ่งไม่ได้มีแค่บนดินท่านั้น ยังรวมไปถึงใต้ดินอีกด้วย ในกรณีที่ต้องการก่อสร้างและต่อเติมอะไร ต้องระวังระยะดังนี้

  • อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร
    - อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ถ้าระยะถอยร่นน้อยกว่าที่กำหนดก็ต้องก่อสร้างเป็นผนังทึบตลอดแนวด้านนั้นและผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร

2.รั้วนั้นของฉันหรือของเธอ
ตามหลักในข้อกฎหมาย รั้วบ้าน รั้วต้นไม้หรือคูน้ำ ที่กันบ้านนั้น เป็นความรับผิดชอบในการดูแลของ "ทั้งคู่" หากต้องการซ่อมแซมหรือรื้อถอนดัดแปลง ต้องได้รับความยินยอม ไม่สามารถทำโดยพลการได้ และในบางพื้นที่ก็มีข้อกำหนดต่างๆดังนี้ด้วย

  • ความสูงของรั้วหน้าบ้านต้องไม่เกิน 1.20 เมตร รั้วหลังบ้านไม่เกิน 1.80 เมตร และรั้วต้นไม้สูงได้ไม่เกิน 2.40 เมตร
    - ในกรณีที่ต้องการสร้างหรือต่อเติมให้สูงยิ่งขึ้นไปอีกสามารถทำได้บนที่ดินของตนเองแต่ต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร แม้เพื่อนบ้านไม่ยินยอมก็ตาม เพราะถือว่าสร้างบนเขตที่ดินของเราเอง

3.ฝนตกบ้านนี้ ฉ่ำถึงบ้านนั้น
หน้าฝนทีไร เอาแค่ดูแลบ้านตัวเองก็ลำบากแทบตาย ยังต้องระวังความฉ่ำวนไปหาคุณพี่ข้างบ้านเราอีก!ดังนั้นเราดูระยะหลังคาบ้านเราและทำการต่อเติมรางน้ำฝนเพื่อไม่ให้ฝนที่ไหลลงจากหลังนั้นนั้น ตกไปถึงข้างบ้านเราเด็ดขาด เพราะเสี่ยงจะโดนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้


4. วิวทิวทัศน์ที่ไม่น่าอภิรมย์ไม่ผิดกฎหมาย แต่ผิดใจกันแน่นอน

ตามกฎหมายเราไม่มีสิทธิ์ในแสงแดด อากาศ และวิวอยู่แล้ว แต่การที่เราอาจจะไปสร้างบ้านหรือต่อเติมบดบังทิวทัศน์ ช่องทางลม เพื่อนบ้าน อันนี้ก็ถือว่าไม่ดีเลย แนะนำว่าหากต้องการต่อเติมอะไร ควรเจรจากับเพื่อนบ้านก่อน เพราะสังคมจะน่าอยู่ถ้าเราใส่ใจกันมากพอ


5.ผลไม้ของเธอ ฉันขอนะ

ดอกหรือผลที่โตข้ามเขตบ้านแต่ไม่ได้ร่วงหล่นเองตามธรรมชาติไม่สามารถเด็ดได้ เพราะถือเป็นกรรมสิทธิ์เจ้าของต้นไม้ มีความทางอาญาเลยทีเดียว กรณีที่ปลูกต้นไม้หรือไม้เลื้อยไว้ริมรั้วแล้วเกิดแตกกิ่งก้านตลอดจนส่วนของรากยื่นเข้ามาในเขตบ้าน เจ้าของบ้านสามารถขุดรากและตัดกิ่งก้านออกได้เลย แต่จะทำลายทิ้งทั้งต้นไม่ได้ หากเห็นต้นไม้นั้น ๆ โอนเอนดูอันตรายเจ้าหน้าที่สามารถสั่งขุดถอนทิ้งได้


6. หน้าบ้านเรา แต่รถนั่นของคนข้างๆ (บ้าน)

พื้นที่ของบ้านส่วนใหญ่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น ทาวน์เฮ้าส์หรืออาคารพาณิชย์ จึงทำให้มีพื้นที่เหลือน้อยและไม่เพียงพอสำหรับการจอดรถ คนส่วนใหญ่จึงหันมาจอดไว้บริเวณหน้าบ้าน แต่บางทีอาจจะไม่พอจนต้องลุกล้ำมาจอดหน้าบ้านคนอื่น ก่อให้เกิดความไม่สะดวกต่อเจ้าของบ้าน ซึ่งผิดกฎหมายอาญาถือว่าเป็นการกระทำความผิดฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญใจตามมาตรา 397 นั่นเอง


7.เสียงดังจากคนทางนั้น ดังเข้าหูมาถึงคนทางนี้

ปัญหาเรื่องการส่งเสียงดังรบกวนข้างบ้านนับว่าเป็นปัญหาที่ทุกคนต้องเคยประสบ ไม่ว่าจะมาจากการสังสรรค์ งานเลี้ยง งานบวช งานแต่ง เราอาจจะจัดในบ้านตัวเอง แต่เสียงมันไม่ได้โดนจำกัดแค่ในบ้าน พึ่งระวังให้ดีต้องผูกมิตรกับเพื่อนบ้านไว้หากวันไหนเสียงดังเกินไป สามารถให้เพื่อนบ้านเราเตือนได้เลย จะได้ไม่ต้องไปขึ้นโรงขึ้นศาลกันให้เสียเงินเสียเวลาทั้งคู่
แต่ในกรณีที่เราจำเป็นต้องใช้เสียงจริง ๆ ก็ควรเจรจาขออนุญาตกับเพื่อนบ้านก่อน เพื่อไม่ละเมิดสิทธิของคนอื่น โดยกฎหมายจะระบุเวลาเงียบสงบ เพื่อไม่เป็นการรบกวนเพื่อนบ้าน ในช่วงระหว่างเวลา 22.00 น. จนถึง 07.00 น. สำหรับวันธรรมดา และกรณีวันหยุดตั้งแต่เวลา 22.00 น. จนถึง 09.00 น. ดังนั้นเราไม่ควรจะส่งเสียงในช่วงเวลานั้นเพื่อไม่ละเมิดสิทธิของคนอื่น

 

neighbor-01
ก่อน รวม Review BAMBOO ใช้ดีบอกต่อให้โลกรู้ !
ต่อไป กุญแจล็อคแบบไหนถูกใจเรา?