เราใช้คุกกี้เพื่อทำให้ประสบการณ์ของคุณดีขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งใหม่ของ e-Privacy เราจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณในการตั้งค่าคุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติม
ใช้แอร์เท่าไหร่..คำนวณเป็นค่าไฟอย่างไร?
อย่างแรกที่ต้องทราบก่อนว่าอัตราค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นใช้ไฟมากน้อยเพียงใด ยิ่งจำนวนวัตต์มาก ยิ่งหมายความว่าใช้ไฟมากตามจำนวนวัตต์
สูตรการคำนวณค่าไฟจึงต้องเริ่มต้นจาก กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)
การคำนวณค่าไฟอาจไม่ใช่เรื่องที่ง่าย แต่ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไปสำหรับผู้ใช้งาน ซึ่งสิ่งแรกต้องทราบก่อนว่าอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อเครื่องๆ นั้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งอัตราการบริโภคไฟฟ้านั้นมีหน่วยเป็น วัตต์ (w) ยิ่งจำนวนวัตต์มาก ยิ่งหมายความว่าใช้ไฟฟ้ามากด้วย
สูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ
ค่าBTU. / ค่า SEER / 1000 x ชั่วโมงการใช้งาน x จำนวนวันใช้งาน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย
X-Inverter : 42TVAA013 / 38TVAA013
อย่างไรก็ตาม การคำนวณค่าไฟของเครื่องไฟฟ้าหรือแอร์แต่ละเครื่องจะถูกทำการคำนวณจากการเปิดแอร์ 8 ชม. ต่อวัน และแสดงอยู่บนฉลากประหยัดไฟ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบและพิจารณาค่าไฟที่มากับอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆ อย่างถูกต้อง
ซึ่งข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพบว่า แอร์เบอร์ 5 ค่าประสิทธิภาพยิ่งสูง ค่าไฟยิ่งต่ำ ยิ่งคุ้มนาน
ทั้งนี้ค่าไฟจะขึ้นกับการใช้งานด้วย การตั้งอุณหภูมิต่ำๆ และมีการรั่วไหลของอากาศภายในห้อง จะส่งผลกับการกินไฟ เช่น ห้องที่เปิดเข้า - ออกบ่อยๆ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ร้อน เช่น คอมพิวเตอร์ ไดร์เป่าผม ก็ส่งผลทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้น กินไฟมากขึ้น
ควรเลือกแอร์ Inverter สำหรับห้องที่ใช้งานบ่อย เช่น ห้องนอน ระยะยาวจะช่วยประหยัดเงินได้มากกว่า ยิ่งใช้มาก ยิ่งประหยัดกว่า แต่ไม่ใช่ว่าแอร์อินเวอร์เตอร์แล้วจะกระหน่ำเปิดทั้งวันทั้งคืน เพราะไม่งั้นค่าไฟก็เยอะอยู่ดี
แอร์ไม่เย็น ทำให้เปลืองไฟ ควรเช็กด้วย 4 ขั้นตอน
โดยปกติแล้วแอร์ถูกสร้างมาเพื่อให้ความเย็น แต่หากในวันใดที่แอร์ไม่เย็นต้องรีบตรวจเช็กสิ่งเหล่านี้ก่อนเพื่อการแก้ไขด้วยตัวเองในเบื้องต้น
สนใจ Uni-Aire (x) JARTON คลิก
#JARTON #UniAireJARTON #เครื่องปรับอากาศ #แอร์ #Air
Login and Registration Form