เราใช้คุกกี้เพื่อทำให้ประสบการณ์ของคุณดีขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งใหม่ของ e-Privacy เราจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณในการตั้งค่าคุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติม
ฝนตกทีไร ปวดใจชาวออฟฟิศทุกที เพราะได้เวลากลับบ้านปุ๊บ ฝนก็ตกปั๊บ เหมือนเลิกงานพร้อมกันอย่างนั้นแหละ
ฤดูฝนก็เหมือนเป็นฤดูแห่งการคาดเดา เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าฝนจะตกมาตอนไหน และแน่นอนว่ายังมีอีกหลายคนที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านทุกวัน แต่พอถึงเวลาเลิกงาน ก็กลับต้องติดฝนอยู่ที่ออฟฟิศ หรือตามสถานที่ต่าง ๆ สร้างความลำบากและหงุดหงิดใจให้กับชาวออฟฟิศอยู่เสมอ
แต่ก่อนที่เราจะหงุดหงิดกันไปมากกว่านี้ มาทำความเข้าใจกับปรากฎการณ์ “ฝนตกตอนเลิกงาน” กันก่อน
ก่อนที่เราจะอธิบายปรากฎการณ์ฝนตกตอนเลิกงาน ต้องเข้าใจถึงกระบวนการการเกิดฝนกันก่อน ฝนนั้นเกิดจากการที่น้ำบนโลกโดนความร้อน และระเหยการเป็นไอน้ำขึ้นไปด้านบน จากนั้นกลายเป็นเมฆ และเกิดการควบแน่นจนเป็นฝนในที่สุด นั่นหมายความว่า “ความร้อน” มีผลกับ “ฝน”
ฝนตกตอนเลิกงานนั้น จะเกิดขึ้นในเขตพื้นที่ที่มีความร้อนสูงกว่าพื้นที่ใกล้เคียงมาก นั่นคือชุมชนเมือง หรือเราจะเรียกว่า “เกาะความร้อน” (Urban Heat Island) ความร้อนนี้ อาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมือง เพราะถึงแม้ว่าพระอาทิตย์จะส่องแสงไปถึงทุกพื้นที่เท่ากัน แต่พื้นผิวที่รับความร้อนแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกัน เช่น ในพื้นที่ชุมชนชนบท ความร้อนจะกระทบกับพื้นผิวดิน ในขณะที่ชุมชนเมือง เต็มไปด้วยคอนกรีตและตึกสูง นั่นทำให้ความร้อนในชุมชนเมืองสูงกว่าชุมชนชนบท ตอบคำถามได้ว่า ปรากฎการณ์ฝนตกตอนเลิกงานนั้น อาจเกิดแค่เพียงพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลนั่นเอง
เพราะอย่างที่บอกว่า ความร้อนนั้นมีผลกับฝน เมื่ออากาศภายนอกมาปะทะกับความร้อนในเกาะความร้อน อุณหภูมิภายในเกาะความร้อนนั้น เริ่มมีความเปลี่ยนแปลงลดลงในช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. เป็นต้นไป และเมื่อพระอาทิตย์คล้อยต่ำลงแล้ว ส่งผลให้ความชื้นถูกปล่อยออกมา กระทบกับอากาศที่เย็นเหนือเกาะความร้อน ก็จะกลั่นออกมาเป็นฝน ทำให้ฝนตกในช่วงเวลา 16.00 น. – 18.00 น. ซึ่งตรงกับเวลาเลิกงานพอดีเลย
สรุปแล้ว ปรากฎการณ์ฝนตกตอนเลิกงาน เกิดจากความร้อนบนเกาะความร้อน เพราะฉะนั้น การปลูกต้นไม้ให้มีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น อาจจะทำให้เราหลีกเลี่ยงความหงุดหงิดใจนี้ได้นะ เพราะพื้นผิวในแต่ละสภาพแวดล้อมดูดซับและกักเก็บความร้อนได้ไม่เท่ากัน ความร้อนกระทบกับตึกจึงร้อนมาก แต่หากความร้อนกระทบกับต้นไม้ ต้นหญ้า ก็จะเกิดการ “คายน้ำ” ของพืช ทำให้อุณภูมิโดยรวมนั้นไม่ร้อนจนเกินไป เป็นการปรับอากาศโดยธรรมชาตินั่นเอง
Login and Registration Form