เราใช้คุกกี้เพื่อทำให้ประสบการณ์ของคุณดีขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งใหม่ของ e-Privacy เราจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณในการตั้งค่าคุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติม
ทางหนีไฟเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งานอาคารและผู้ออกแบบอาคารควรต้องศึกษาให้ดี โดยเฉพาะในอาคารที่ต้องมีการใช้งานเป็นเวลานานและเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่พักอาศัย เช่น หอพัก อพาร์ตเม้นต์ และคอนโดมิเนียม หรืออาคารสำนักงานที่เราใช้ทำงานวันละหลายชั่วโมง หรืออาคารที่มีผู้ใช้อาคารพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เช่น โรงหนัง โรงละคร หรือสถานบันเทิง เป็นต้น การศึกษาเส้นทางหนีไฟให้เข้าใจ หรือสามารถจดจำเส้นทางหนีไฟได้ หรืออย่างน้อยก็รู้ว่าควรมองหาสัญลักษณ์ใดที่เป็นป้ายทางหนีไฟเพื่อนำไปสู่เส้นทางหนีไฟออกนอกอาคาร เหล่านี้ก็เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ใช้อาคารเอง เนื่องจากเราไม่มีทางทราบได้เลยว่าเมื่อไรเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างอัคคีภัยจะเกิดขึ้น การศึกษาเส้นทางหนีไฟย่อมทำให้ผู้ใช้อาคารสามารถนำตัวเองออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัยหากเกิดเหตุอัคคีภัยขึ้น และสำหรับผู้ออกแบบอาคารก็ย่อมเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องออกแบบอาคารให้มีความปลอดภัยและออกแบบให้ตรงตามกฎหมายควบคุมอาคาร และกฎหมายทางหนีไฟเป็นหนึ่งในสิ่งที่มองข้ามไม่ได้
ทางหนีไฟคืออะไร สำคัญอย่างไร
ในการออกแบบอาคารนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกนอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยภายในอาคารแล้ว ไม่ใช่ความสวยงามของตัวอาคาร แต่เป็นความปลอดภัยของผู้ใช้งานอาคาร การออกแบบอาคารให้มีความปลอดภัยเป็นสิ่งหลักที่สำคัญที่สุดที่ผู้ออกแบบอาคารต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยด้านโครงสร้างอาคาร หรือความปลอดภัยในการใช้งานอาคาร
อันตรายที่เกิดจากการใช้งานอาคารมีหลายอย่าง อัคคีภัยเป็นภัยร้ายแรงอย่างหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นกับอาคารได้เป็นอันดับต้นๆ มีหลายเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดอัคคีภัยในอาคารได้ ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบกิจการ หรืออาคารที่พักอาศัย เช่น การเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือเกิดเหตุขัดข้องของเครื่องใช้ไฟฟ้า การดัดแปลงพื้นที่และเปลี่ยนแปลงการใช้งานของพื้นที่ภายในอาคาร ทำให้เกิดการใช้งานอาคารผิดประเภท การใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น วัสดุที่ติดไฟง่ายหรือไม่ใช้วัสดุทนไฟในห้องครัว การไม่มีระบบป้องกันอัคคีภัยที่เหมาะสม หรือละเลยการดูแลและทดสอบระบบป้องกันอัคคีภัย เป็นต้น
ด้วยเหตุผลที่อัคคีภัยเป็นภัยที่อาจเกิดได้ง่ายในอาคาร ทางหนีไฟภายในอาคารจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก ด้วยการคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งานอาคาร จึงมีการออกกฎหมายเพื่อบังคับให้มีการออกแบบทางหนีไฟภายในอาคารเพื่อควบคุมให้อาคารมีความปลอดภัยและมีมาตรฐานที่เหมาะสม ระบบทางหนีไฟจะประกอบไปด้วยเส้นทางหนีไฟ ตัวทางหนีไฟ และป้ายทางหนีไฟ โดยทั้งหมดนี้ต้องออกแบบอย่างถูกต้องเพื่อทำหน้าที่ได้ดีที่สุด โดยเส้นทางหนีไฟเป็นเส้นทางให้สามารถนำคนออกจากภายในอาคารไปสู่ภายนอกอาคารเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้โดยสะดวกรวดเร็ว โดยตามกฎหมายให้คำนิยามเส้นทางหนีไฟไว้ดังนี้
"เส้นทางหนีไฟ" หมายความว่า ทางออกและแนวทางออกเพื่อให้คนออกจากอาคารเมื่อเกิด อัคคีภัย โดยจะต้องเป็นเส้นทางซึ่งต่อเนื่องกันเพื่อออกจากภายในอาคารไปสู่บันไดหนีไฟ หรือที่เปิดโล่ง ภายนอกอาคารที่ระดับพื้นดินหรือออกสู่ทางสาธารณะ
จากเส้นทางหนีไฟที่ผู้ออกแบบวางไว้ มีสิ่งที่เรียกว่าทางหนีไฟอยู่ โดยทางหนีไฟ คือ ทางที่สามารถนำคนออกจากอาคารได้โดยที่ตัวมันทำหน้าที่เป็นฉนวนกันไฟด้วย สามารถป้องกันไฟและควันไฟไม่ให้เข้ามาภายในทางนี้ได้ โดยตามกฎหมายให้คำนิยามทางหนีไฟไว้ดังนี้
"ทางหนีไฟ" หมายความว่า ส่วนหนึ่งของเส้นทางหนีไฟที่ถูกแยกออกจากส่วนอื่นๆ ของอาคารเพื่อความปลอดภัยตลอดทางจนถึงทางปล่อยออก โดยทางหนีไฟจะต้องมีส่วนปิดล้อมที่ไม่มีช่องให้ไฟหรือควันจากภายนอกผ่านเข้ามาได้ และส่วนปิดล้อมนี้ต้องมีอัตราการทนไฟเป็นไปตามที่กำหนด
"ป้ายทางหนีไฟ" คือ ป้ายทางออกฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่ใช้สื่อสารกับผู้ใช้อาคารให้ไปตามทิศทางที่ไปสู่ทางหนีไฟและออกสู่ภายนอกอาคารได้
ทางหนีไฟโดยปกติเมื่อเกิดอัคคีภัยจะมีทางหนีไฟออกจากอาคารอยู่ 2 ทาง คือ ทางหนีไฟออกทางด้านล่าง และทางหนีไฟทางอากาศ ทางหนีไฟออกทางด้านล่างอาคารที่เราคุ้นเคยกันดีในอาคารที่มีหลายชั้นนั่นก็คือ บันไดหนีไฟ นั่นเอง ส่วนทางหนีไฟทางอากาศจะจัดเป็นพื้นที่โล่งไว้ที่ชั้นดาดฟ้า ใช้เป็นเส้นทางหนีไฟสำหรับกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ด้านล่างแล้วคนชั้นบนไม่สามารถหนีออกทางด้านล่างอาคารได้
จะเห็นว่าทางหนีไฟ คือ สิ่งที่สำคัญมากในอาคาร การที่มีทางที่สามารถพาเราออกจากอาคารได้โดยที่ตัวมันเองสามารถป้องกันไฟและควันได้ด้วยนั้นเป็นสิ่งที่สามารถช่วยชีวิตคนได้เป็นอย่างมากหากเกิดเหตุอัคคีภัยขึ้นในอาคาร
ทางหนีไฟสำหรับอาคารประเภทต่างๆ
ลักษณะของทางหนีไฟตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร
ตึกแถวหรือที่พักอาศัยที่มีความสูง 4 ชั้น
อาคารที่ไม่ใช่ตึกแถว ที่มีความสูง 4-7 ชั้น
ผนังที่กล่าวถึงตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทางหนีไฟมี 2 ประเภท คือ ผนังกันไฟ และผนังทนไฟ ผนังทั้ง 2 ชนิดมีความแตกต่างกันในรายละเอียดตามกฎหมาย ดังนี้
ผนังกันไฟ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 มีลักษณะดังนี้
ผนังทนไฟ ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร มีลักษณะดังนี้
วัสดุทนไฟตามกฎหมายจะหมายถึง วัสดุก่อสร้างที่ไม่เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงวัสดุที่มีคุณสมบัติทนต่อการใช้งานที่อุณหภูมิสูง โดยไม่เกิดการการหลอมเหลวเสียรูปร่างขณะใช้งาน ปัจจุบันมีวัสดุทนไฟหลายประเภทที่สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารได้ เช่น อิฐทนไฟ อิฐฉนวนกันความร้อน ปูนทนไฟ คอนกรีตทนไฟ พลาสติกทนไฟ เป็นต้น
Login and Registration Form